การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน

Main Article Content

ดารานาถ ทองม้วน
ณัฏฐชัย จันทชุม
ทิพาพร สุจารี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และ 4) เพื่อยืนยันประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นครูในสังกัดโรงเรียนเอกชนกลุ่มการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 11 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 1 เป็นครู จำนวน 145 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ขั้นตอนที่ 2 ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ 7 คน ขั้นตอนที่ 3 เป็นครูผู้สอนที่มีความสมัครใจเข้าร่วมอบรม 30 คน และขั้นตอนที่ 4 เป็นครูผู้สอนที่ผ่านการอบรมที่สมัครใจให้ติดตามประเมินผล 3 คนและนักเรียนที่เรียนวิชากับครูผู้เข้าอบรม 90 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและเอกสารประกอบหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพบว่า ครูมีปัญหาในด้านการพัฒนาการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานและความต้องการในการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก 2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานมีหลักสูตรและเอกสารมีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีคะแนนจากแบบประเมินความรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 4) ผลการยืนยันประสิทธิผลของหลักสูตรพบว่า แบบประเมินทักษะการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยของผู้เรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการออกแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่

พ.ศ.2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จินตวีร์พร แป้นแก้ว บุษยา สังขชาติ นวพร ดำแสงสวัสดิ์ และเทอดศักดิ์ นำเจริญ. (2562). “การประเมินตามสภาพจริง,” วารสารศึกษาศาสตร์, 30(1), (มกราคม – เมษายน

. 22-33.

ฐิตินันท์ ดาวศรีและคณะ. (2560). “แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษ

ที่ 21,”วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), (มกราคม –

มิถุนายน 2560): 60.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา เปลื้องนุช. (2554). การบริหารหลักสูตร. ทุนสนับสนุนการผลิตตำรา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พ.ศ. 2551: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วสันต์ ทำกล้า. (2549). การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม

วิทยาลัยเทคนิคลำพูน สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ลำปาง/ลำปาง.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อ

ศตวรรษที่21 แปลจาก 21st Century Skills: Rethinking How Students

Learn. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 12, 2566, จาก

http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การสอนแบบ Research-Based Teaching

ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์ บรรณาธิการ), การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐาน. (พิมพ์ครั้ง

ที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bellanca & Brandt. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students

Learn. Bloomington. IN: Solution Tree Press.

Gordon, S. P. (2004). Professional development for school improvement:

Empowering learning communities. Boston: Pearson.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York.

Harper and Row Publications.

The Secretariat of the Teachers Council of Thailand. (2017). Guidelines for

Determining Competencies Knowledge, Competence and Skills

Required to Perform Duties for Civil Service Positions in Higher

Education Institutions. Bangkok: Prikwarn Graphic.

Saylor, J. Galen and William M. Alexander. (1974). Planning Curriculum for

School. New York: Holt, Rinehart and Winston.