การสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และส่วนประสมการตลาด 4Es ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

ละดาวัลย์ จันทโชติ
ลัสดา ยาวิละ
รัตนา สิทธิอ่วม

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และส่วนประสมการตลาด 4Es ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน จากกลุ่มลูกค้าที่เลือกใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน ในเขตภาคเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test ค่า One way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) เพศ อายุ สภานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในเขตภาคเหนือ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปากผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และผ่านทางวีดีโอออนไลน์ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในเขตภาคเหนือ ส่งผลร้อยละ 28.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3).ส่วนประสมการตลาด 4Es ด้านการสร้างความสัมพันธ์ และด้านการสร้างประสบการณ์ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในเขตภาคเหนือ ส่งผลร้อยละ 51.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ สันธิโร. (2559). การตลาดแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ Apple Watch ของผู้ใช้ระบบ ios ในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กัญญาวีร์ อินทร์สันต์ และบุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ. (2563). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และการสื่อสารการตลาดแบบปากต่อปาก ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 10(3). 79-91.

ชลธิศ บรรเจิดธรรม. (2559). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และความเหมาะสมของตนเองส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัยธัช อัครปัณณกูร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำประกันภัยการเดินทางออนไลน์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐชยา ทองอินทร์ และกาญณ์ระวี อนันตอัครกุล. (2565). แรงจูงใจ นโยบายภาครัฐ และส่วนประสมทางการตลาด 4Es ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวช่วงวิกฤตโควิด 19 ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 6(2) : 90-105.

ณัฐพร พละไชย. (2556). อิทธิพลของการตลาดแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (eWOM Marketing) และปัจจัยด้าน การสร้างแบรนด์ 3 มิติ (3i Model of Brand Development) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถจักรยานยนต์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์. เข้าถึงได้จาก: https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=935&language=th. (วันที่ค้นข้อมูล: 9 กันยายน 2565).

พัชราวรรณ จันรัตนาวิว้ฒน์. (2560). การตลาดแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินกศัลยกรรมขนาดเล็กของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิชชานันท์ ฐิติอักษรศิลปะ. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าออนไลน์ของพนักงานบริษัทในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีรพร สุวนันทรัตน์ และบุญญาดา นาสมบูรณ์ .(2565). ปัจจัยส่วนผสมการตลาด 4Ps และ 4Es ที่ส่งผลต่อการใช้บริการร้านกาแฟคุณภาพพิเศษ (Specialty Coffee) อย่างต่อเนื่อง. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 5(2) : 285-299.

ศิริรัตน์ โกศการิกา. (2564). การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อชื่อเสียงอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารของรัฐ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(4) : 330-343.

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2566). รายงานภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายในเขตภาคเหนือ ครึ่งแรกปี 2565. เข้าถึงได้จาก: https://www.reic. or.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 มีนาคม 2566).

สมกณภัทร ธรรมสอน และจุฑาทิพย์ เดชยางกูร. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (4 E’s) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวบ้านนาต้นจั่น อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย หลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ของนักท่องเที่ยวไทย. เข้าถึงได้จาก: http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2563-5-12_1629779167.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 8 สิงหาคม 2565).

สโรชา ภู่ถาวร. (2563). อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของส่วนประสมทางการตลาดแบบใหม่ที่มีต่อความพึงพอใจในการใช้บริการแอพพลิเคชั่นเพื่อการท่องเที่ยว. Veridian E-Journal, Silapakorn University, 12(5), 1061-1075.

Jalilvand, M. R., Esfahani, S. S., & Samiei, N. (2011). Electronic Word-of-Mouth: Challenges and Opportunities. Procedia Computer Science 3, 42-46.