ปัจจัยด้านการรับรู้ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา Tops Online

Main Article Content

ณรงค์ชัย แก้ววิริยะกิจกูล
ยุวรินธร ไชยโชติช่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านTops Online ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้า การรับรู้ถึงประโยชน์ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค จำนวน 400 คน  โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-37 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน และมีรายได้ 15,000 – 35,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยด้านการรับรู้ความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือ application Tops Online มีการจัดประเภทหมวดรายการสินค้าง่ายต่อการสั่งซื้อ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือ application Tops Online ทำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น และปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ Tops Online Tops Online สามารถดาวน์โหลดการใช้งานที่รองรับทั้งระบบ IOS และ Android ผลจากทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้า ปัจจัยการรับรู้ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ และปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา Tops Online อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

กรุงเทพธุรกิจ (2563).ค้าปลีกเร่งปั้น 'พอร์ตออนไลน์' หนุนขยายตลาดไร้พรมแดน. จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/895812

ดวงพร รัดสินทร.(2562).การรับรู้เทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ.

ดวงพร รัดสินทร. (2562). การรับรู้เทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ

ธนาคารกรุงศรีอยธยา (2562).แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/io-modern-trade-20.

นิเวศน์ ธรรมะ. (2560). ประสบการณ์การซื้อออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(1), 62-71.

วนิดา ประวันจะ และ นิภาพรรณ นิรุตติกุล (2564). การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่าย และความตั้งใจใช้บริการโมบายแบงค์กิ้งแอปพลิเคชันของกลุ่มกิจการเจ้าของคนเดียว. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์.16(1),1-20

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). สถิติมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย. จากhttps://data.go.th/hr/organization/etda

อรวรรณ นิยมมั่งมี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการรับชำระเงินด้วย QR Code ของผู้ค้ารายย่อย.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Ali Abou Ali & Alaa Abbass & Nihal Farid, 2020. Factors Influencing Customers’ Purchase Intention in Social Commerce, International Review of Management and Marketing, Econjournals, vol. 10(5), pages 63-73.

Lim, H., & Soyoung, A. (2020). Intention to purchase wellbeing food among Korean consumers: An application of the Theory of Planned Behavior. Food Quality and Preference, 1(88), 1-30.

National Retail Federation, (2020). Consumers demand shopping convenience, [Online], 3 December 2020. Retrieved from https://www.ift.org/news.

Nguyen, T. T. H., Nguyen, N., Nguyen, T. B. L., Phan, T. T. H., Bui, L. P., & Moon, H. C. (2019). Investigating consumer attitude and intention towards online food purchasing in an emerging economy: An extended TAM approach. Foods, 8(11), 1-15. https://doi.org/10.3390/foods8110576

Ojo, A. I. (2017). Validation of the DeLone and McLean information systems success model. Healthcare Informatics Research, 23(1), 60-66.

Ru, L. J., Kowang, T. O., Long, C. S., Fun, F. S., & Fei, G. C. (2021). Factors Influencing Online Purchase Intention of Shopee’s Consumers in Malaysia. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 11(1), 761–776

SME Thailand. (2564). สร้างธุรกิจออนไลน์ให้โดดเด่นได้อย่างไร. สืบค้นจาก https://www.smethailandclub.com/marketing/1033.html.

Tuah & Ariffin. (2019). An empirical examination of the factors influencing consumer’s purchase intention toward online shopping. Journal of Business and Retail Management Research, 13(04), 1-15

Walters, W. (2014). Assessing and managing e-commerce service convenience. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication.

Wearesocial. (2021). Digital : 2021 The latest insights into the state of digital. Retrieved from https://wearesocial.com/uk/blog/2021/01/digital-2021-the-latest-insights-into-the-state-of-digital.