การพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานี

Main Article Content

วิริยะ รุ่งเรือง
วันพิชิต ศรีสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานี โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 70 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ แบ่งเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรฐานในระบบการจัดการความปลอดภัยของ กฟภ. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน และแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานี จากนั้นผู้วิจัยจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ค่าสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการรับรู้ต่อมาตรฐานในระบบการจัดการความปลอดภัยของ กฟภ. โดยรวมอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 90.80) จากทั้งหมด 7 มาตรฐาน ในมาตรฐานที่ 5 กิจกรรมด้านความปลอดภัย พนักงานมีการรับรู้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 96.53 เช่น การร่วมกิจกรรม PSC (PEA Safety culture) กำหนดให้พนักงานทุกคนต้องเข้าร่วมและถือเป็นหน้าที่ของทุกคน ภายในกิจกรรมจะประกอบด้วย การสนทนาความปลอดภัย (Safety talk) โดยผู้บริหาร หัวหน้าแผนก พนักงานช่างควบคุมงาน หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.วิชาชีพ) การอบอุ่นร่างกาย (Warm up) และการทำ KYT (Kiken Yoshi Training) หรือการทำมือชี้ปากย้ำ ด้านพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับดี (X̅= 2.75) จำแนกตามรายหัวข้อ พบว่าเมื่อพนักงานพบเห็นสิ่งที่เป็นอันตรายหรืออาจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อผู้ร่วมงาน พนักงานจะแจ้งให้ผู้อื่นทราบ (X̅= 2.90) ปฏิบัติมากที่สุด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเอาใจใส่ของพนักงานจะเน้นย้ำและตักเตือนเพื่อนร่วมงาน หากละเลยไม่ใส่ใจ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ทำงานลัดขั้นตอน จนมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะมีบทลงโทษตามระเบียบของหน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้านแนวทางในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.73) พบว่า พนักงานให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัย (X̅= 4.87) มากที่สุด มีความสัมพันธ์กับนโยบายความปลอดภัยของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอันดับแรก และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นที่จะต้องนำไปพิจารณาเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานีต่อไปมี 2 ประเด็น (1) เรื่องการฝึกอบรมความปลอดภัยในงานที่เกี่ยวข้อง (2) การจัดสรรอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเพียงพอ เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน (X̅= 4.63)  ผู้ที่ปฏิบัติงานควรได้รับการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่ง อบรมสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยและมีการซักซ้อมอยู่เป็นประจำ พิจารณาจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน จัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเพียงพอพอ และกำกับดูแลเรื่องการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล (PPE)  ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง ระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานีต่อไป

Article Details

บท
Research Articles

References

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ

สภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553.ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 127 ตอนที่ 43 ก วันที่ 9 กรกฎาคม 2553

กรองแก้ว อยู่สุข. (2543). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมสันต์ ธงชัย, ณัฐพงศ์ เครือศิริ, และธนัสนี สมบูรณ์. (2552). การจัดการด้านอาชีวอนามัยและ

ความปลอดภัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของคนงานก่อสร้าง ในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

จันทิราพร ทั่งสุวรรณ .(2555). การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการ

ทำงาน (SHE) ในโรงงานผลิตน้ำมันจากยางรถยนต์เก่าไม่ใช้แล้ว. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554.ประกาศ

ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 128 ตอนที่ 4 ก วันที่ 17 มกราคม 2554

วิทยา อยู่สุข. (2549). อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ:

นําอักษรการพิมพ์.

วิทวัส ทองคํา (2550) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก.

ในคลังปิโตรเลียม บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วีริศ จิรไชยภาส. (2541). การสร้างและพัฒนาแบบสอบถถามวัดเจตคติด้านความปลอดภัยในการ

ทำงานของบริษัทปูนซีเมนไทย จํากัด (มหาชน) บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์.

กระทรวงแรงงาน. (2551). รายงานผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงาน. ศูนย์ความปลอดภัย

ในการทำงานพื้นที่ 11. ลำพูน : ศูนย์ราชการกระทรวงแรงงานจังหวัดลำพูน.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน).

(2557). ระบบมาตรฐาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็ก. (จัดพิมพ์ครั้งที่ 1) : บริษัท

รอยัลเปเปอร์ จำกัด.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (2565). รัฐบาลขับเคลื่อนนโยบาย Safety Thailand หวังลดสูญเสีย

ทรัพยากร : สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.infoquest.co.th/2022/212660

Dejoy, D.M. (1994). Managing Safety in the Workplace : An Attribution Theory

Analysis and Model. Dissertation Abstracts International.

Fernández-Muñiz, B., Montes-Peón, J. M., & Vázquez-Ordás, C. J. (2007). Safety

management system: Development and validation of a multidimensional

scale. Journal of Loss Prevention in the Process Industries, 20(1), 52-68.

Goldberg, A.I., E. Dar and E. Rubin. (1991). Theat Perception and the Readiness to

Participate in Safety Programs. Journal of Organizational Behavior. 12

(March 1991) : 109-122., 1991.

Heinrich, H.W. (2010). Organizational Behavior: Human Behavior at Work. New York:

McGraw-Hill