กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลท่าแซะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

Main Article Content

สุภาพร ศรีนาค
จุฬาพร ศรีรังสรรค์
อภิชาติ เลนะนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน 2) กลยุทธ์การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน และ 3) ผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลท่าแซะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน  ครู จำนวน 22 คน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลท่าแซะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 68 คน รวมทั้งสิ้น 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คู่มือกลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00  แบบประเมินทักษะชีวิต มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละความก้าวหน้า ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลท่าแซะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร  เขต 1 มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การมีส่วนร่วม 2) กลยุทธ์เสริมพลังอำนาจ 3) กลยุทธ์การบูรณาการ และ 4) กลยุทธ์เครือข่าย 2) กลยุทธ์การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลท่าแซะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการเล่น 3) ผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลท่าแซะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 พบว่า นักเรียนมีทักษะชีวิตอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีคะแนนร้อยละความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 52.25

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลวรรณ จีนหน่อ. (2553). การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการจัดการเรียน

เวลา และความสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรสถานศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

คุรุสภาลาดพร้าว

กานต์ชัญญา แก้วแดง. (2555). การเสริมสร้างการเรียนรู้การใช้ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพติด

โดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

การศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการ. (2548). การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การ

รับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

การศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

การศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการ. (2552). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จันทร์ฤทัย พานิชศุภผล. (2557). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถ

ทางภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนัตถ์กานต์ ศรีเฉลียว, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, และสำราญ กำจัดภัย. (2560). การพัฒนาทักษะ

ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม.

วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ ในพระบรมราชูปถัมภ, 11(2),

-74.

ธนพัฒน์ สุขอนันต์. (2563). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต10. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

นพวรรณ วงศ์วิชัยวัฒน์. (2547). การพัฒนาทักษะชีวิตในการปฏิบัติตนให้รอดพ้นจากปัญหาสังคม

โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นนทวัฒน์ ตรีนันทวัน. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาครูเพื่อการสอนแบบบูรณาการการพัฒนาผู้เรียน

อย่างรอบด้านโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ สำนักบริหารงานศึกษาพิเศษ. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

เนาวรัตน์ นาคพงศ์. (2557). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกำแพงเพชรโดยใช้

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. บัณฑิตวิทยาลัย :: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

พรรณี สวนเพลง. (2555). ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พิพัฒน์ ภู่ภีโญ. (2555). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อการพัฒนาแบบก้าวกระโดด.

บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพรินทร์ เหมบุตร. (2555). กลยุทธ์การนิเทศเพื่อพัฒนาครูมืออาชีพในเครือข่ายการนิเทศที่ 18.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มณฑา จำปาเหลือง. (2554). การบริหารการศึกษาการบริหารเชิงกลยุทธ์. เพชรบุรี: คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ยุรนันท์ วรรณรักษ์. (2562). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด

ภาษาอังกฤษของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. (2553). ทักษะชีวิต. ศูนย์สร้างเสริม

สุขภาพวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี,

สมพิศ กาติ๊บ. (2556). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเขตพื้นที่ภูเขาสูงภาคเหนือตอนบน.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุมนา ศิริวานิช. (2563). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็ก

ปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การวางแผนกลยุทธ์ เอกสารประกอบการ

อบรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานนโยบาย

และแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้น

พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อนันต์ ม่วงอุมิงค์. (2560). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมุสลิมโรงเรียนพัฒนศาสน์วิทยาท่าแร้ง จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราภัฏเพชรบุรี.

อภิชา แดงจำรูญ. (2563). ทักษะชีวิต. หนังสือชุดครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 978-974-033-913-7.

อวยชัย วะทา. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาผู้นำองค์กรชาวบ้านเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชน

จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.