การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เรื่อง การแสดงเรือถ่อ ของโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อาคม วงค์ทองเกื้อ
จุฬาพร ศรีรังสรรค์
กาญจนา บุญส่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง การแสดงเรือถ่อที่ท่าแซะ 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เรื่อง การแสดงเรือถ่อที่ท่าแซะ และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เรื่อง การแสดงเรือถ่อของโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 4 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์องค์ความรู้ เรื่อง การแสดงเรือถ่อ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทุกฉบับมีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้ท้องถิ่น เรื่อง การแสดงเรือถ่อของโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร ประกอบด้วย 1) บริบทของอำเภอท่าแซะ (2) ประวัติความเป็นมาของการแสดงเรือถ่อ (3) รูปแบบและฉันทลักษณ์ของบทกลอนในการแสดงเรือถ่อ (4) การประดิษฐ์ไม้ถ่อสำหรับการแสดงเรือถ่อ (5) เครื่องดนตรีประกอบการแสดงเรือถ่อ และ (6) ท่ารำตามทำนองเพลงการแสดงเรือถ่อ 2) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เรื่อง การแสดงเรือถ่อของโรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก จังหวัดชุมพร ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่  (1) ประวัติความเป็นมาของการแสดงเรือถ่อ (2) บทร้องที่ใช้ในการแสดงเรือถ่อ (3) การแต่งกายของการแสดงเรือถ่อ (4) ลักษณะของบทร้องการแสดงเรือถ่อ (5) ดนตรีและทำนองเพลงที่ใช้ในการแสดงเรือถ่อ และ (6) ปฏิบัติท่ารำตามทำนองเพลง จำนวน 10 แผน ใช้เวลาในการสอน จำนวน 20 ชั่วโมง 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็น ร้อยละ 44.50 นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติในระดับดีเยี่ยม และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีเยี่ยม

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_______. (2562). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กาญจนา บุญส่ง และ นิภา เพชรสม. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชา ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.

จิตรา ขวัญยืน. (2559). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง พืชในระบบนิเวศป่าชายเลน ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ชูชัย มีนุช. (2555) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ตาลโตนดที่บ้านไร่กร่าง ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลับราชภัฏเพชรบุรี.

ณภัทร ศิลปะศร. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สัตว์ที่อาศัยในระบบนิเวศป่าชายเลน ตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ดิษยุทธ์ บัวจูม. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อสร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของนักเรียนโรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์.

ตวงทิพย์ โสฬสเสาวภาคย์, กาญจนา บุญส่ง และไพรัช มณีโชติ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วิถีชีวิตชุมชนตลาดน้ำอัมพวา ของโรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(4) ตุลาคม-ธันวาคม :245นลินี ทวีสิน. (2555). การประชุมวิชาการระดับชาติ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ.

นิจฐี กีฬา, กาญจนา บุญส่ง และไพรัช มณีโชติ. (2566). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วัฒนธรรมไทย-ยวนที่บ้านคู ของโรงเรียนวัดสนามไชย (สนามไชยประชานุกูล) จังหวัดราชบุรี โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8(1) มกราคม-เมษายน : 1-16.

บงกชพร กรุดนาค. (2555). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง สารสกัดสมุนไพรและปุ๋ยหมักธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

บุญสืบ โสโสม. (2553). การเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ปฏิญญา สังขนันท์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่บ้านลาดเป๋งของโรงเรียนวัดลาดเป๋ง จังหวัดสมุทรสงคราม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ปรเมศร์ แก้วดุก และกาญจนา บุญส่ง. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ของโรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 7(2) พฤษภาคม - สิงหาคม : 1 -16.

ฟุ้งศรี ภักดีสุวรรณ (2550). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพจักสานเชิงธุรกิจโดยยึดชุมชนเป็นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. (2550). การจัดการศึกษาฐานชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ละเมียด ไทยแท้. (2560). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง วัฒนธรรมมอญที่บางลำพูของโรงเรียนวัดบางลำภู ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลง จังหวัดเพชรบุรี โดยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วิจารณ์ พานิช. (2557). นวัตกรรมสู่การเป็นประเทศแห่งการศึกษา. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษวงค์.

วิทยาลัยช่างศิลป์สุพรรณบุรี. (2556). เทคนิคการเรียนการสอนที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน. สุพรรณบุรี : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.