พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โรงเรียนบ้านกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

Main Article Content

โสวนีย์ จงแดง
อภิชาติ เลนะนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน 2) พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และ 3) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู จำนวน 11 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 97 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบบสัมภาษณ์สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6-1.0 แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครู มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6-1.0แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหา มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.6-1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน พบว่า สภาพปัจจุบันโรงเรียนบ้านกลางส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนแบบผสมสานตามสถานการณ์และแนวโน้มการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ โดยมีปัญหา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านครู ด้านผู้เรียน และด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียน 2. ผลการพัฒนาครู พบว่า ครูมีคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนามีค่ามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ครูมีพฤติกรรมด้านการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน พบว่า  นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กฤติยา จินตเศรณี. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสายสนับสนุนวิชาการเพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2556). แนวทางการพัฒนาครูในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 2(1), 27-28. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2564, 20 จาก http://ird.rmutto.ac.th.

ทัศนีย์ ธราพร, อารัมภ์ เอี่ยมลออ และเบญจวรรณ รุ่งเรืองศุภรัตน์. (2563). การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning). วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(2), 25-39.

ธนาพล บัวคำโคตร และไพบูลย์ ลิ้มมณี. (2563). แนวทางพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 33. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(8), 89-103.

นวลพรรณ ไชยมา. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตเพชรบูรณ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นรินทร์ สังข์รักษา, วรรณวีร์ บุญญคุ้มและสุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์. (2561). การพัฒนาครูมืออาชีพโดยใช้การวิจัยจากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างสรรค์คุณภาพวิชาการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University,11 (1), 1739-1759..

เมตตา นาคมณี. (2565, สิงหาคม 16). ผู้อำนวยการโรงเรียน. โรงเรียนบ้านกลาง. สัมภาษณ์.

ยุพิน ปัญญาประชุม. (2560). การพัฒนาคู่มือการเรียนรู้โดยใช้หลักคิดโยนิโสมนสิการ และการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบ ทักษะการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 53 สกลนคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รักษ์มณี สารเสวก. (2562). การพัฒนาโปรแกรมการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). องค์แห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. พิมพ์ครั้งที 2. กรุงเทพฯ : ตถาตาพับบลิเคชัน.

สุชัญญา เยื้องกลาง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบนสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชั่นเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะกาแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพรรณี อาวรณ์ และ แก้วเวียง นำนาผล. (2557). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 9(2), 71-80. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2564, 20 http://www.graduate.ubru.ac.th/ubrujournal/assets/onlinefile/1436239505.pdf.

อรนิตย์ ธรเสนา. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : กรณีศึกษาสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dan Zhao and Qingsong Yang. (2011). "Blended learning model applied in college teacher education Case study on quality course of "education" in Huazhong normal university”. Paper presented at the meeting of 2011 International Conference on e- Education, Entertainment and e- Management, December 27-29.

Heidi Tan Yeen-Ju, Neo Mai, and Bhawani Selvaretnam. (2015). "Enhancing Problem-Solving Skills in an Authentic Blended Learning Environment: A Malaysian Context”. International Journal of Information and Education Technology 5,11 (November): 841-846.

John, L. (2014). Professionally Developing as a Teacher Educator. Journal of Teacher Education, 65, 271-283.