ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของกลุ่มโรงเรียนทวาราวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นนทชัย จับใจสุข
สมนึก ทองเอี่ยม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนา               การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนทวาราวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูในกลุ่มโรงเรียนทวาราวดี จำนวน 234 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นตามแนวคิดของครอนบาคทั้งฉบับ mceclip1.png= 0.98 ใช้ค่าสถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา  ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามอันดับดำเนินการดังนี้ มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน,มาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการ 2) สภาพที่ควรจะเป็น ในความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตามอันดับดำเนินการดังนี้ มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน,มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการและมาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาในภาพรวมต้องการพัฒนาตามอันดับดำเนินการดังนี้ มาตรฐานที่1 คุณภาพของผู้เรียน,มาตรฐานที่2 กระบวนการบริหารและการจัดการและมาตรฐานที่3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและ4)ข้อเสนอแนะในพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษามีดังนี้ ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม  มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและอย่างต่อเนื่อง มีการอบรมเพื่อพัฒนาครูให้มีความสามารถในการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ จัดให้มีมาตรการต่อบุคคลภายนอกเพื่อความปลอดภัยของครู บุคลากรและนักเรียนและสนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนขนาดเล็กให้เพียงพอต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา

Article Details

บท
Research Articles

References

บุญเลิศ แสวงทอง. (2552). สภาพการดำเนินงานและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่3 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

ทิพวรรณ์ อ่วมทอง (2564).แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสำหรับสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พรรณระพี คูธนะวนิชพงษ์. (2559). “การบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนมาตรฐานสากล :กรณีศึกษาโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย”, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับอัพเดท). สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565. https://www.moe.go.th/backend/wp- content/uploads /2020/10/1

_______. (2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565. https://www.moe.go.th/backend/wp- content/uploads /2020/10/3

_______. (2553).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565. https://www.moe.go.th/backend/wp- content/uploads /2020/10/4

_______. (2561). กฎกระทรวง ว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เล่มที่ 135 ตอนที่ 11 ก (23 กุมภาพันธ์ 2561).สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/011/3.PDF

_______. (2562).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 (ฉบับอัพเดท). สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2565. https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/5

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์,สุภมาส อังศุโชติและอัจฉรา ชำนิประศาสน์(2562) สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS, กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วิชุตา บุญมี. (2561). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในด้านกระบวนการบริหารและการจัดการของโรงเรียนอนุบาลนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมศักดิ์ คงเทศ. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของครูในสถานศึกษา ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555).ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2561) มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ 2561,พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร:

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ijaiya, N. Y. S. and Fasasi, Y. A. and Alabi, A. T. (2015) Accountability issues in basic schools of Ilorin Metropolis, Kwara State, Nigeria. Jurnal Pendidikan Malaysia,