การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านสุขภาวะทางกายในชีวิตวิถีใหม่สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

อารีพร ภูคงสด
เพ็ญศรี แสวงเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านสุขภาวะทางกายในชีวิตวิถีใหม่สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กชาย – หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  ภาคเรียนที่ 2    ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านสุขภาวะทางกายในชีวิตวิถีใหม่สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 18 แผน   2) แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงสุขภาวะทางกายในชีวิตวิถีใหม่ของเด็กปฐมวัยโดยครู (กรณีที่มีการจัดการเรียนการสอนตามปกติที่โรงเรียน) และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงสุขภาวะทางกายในชีวิตวิถีใหม่ของเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ร้อยละ 66.67 มีการปฏิบัติที่แสดงถึงการมีสมรรถนะด้านสุขภาวะทางกายในชีวิตวิถีใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด และผู้ปกครองลงความเห็นว่าภาพรวมเด็ก มีสมรรถนะด้านสุขภาวะทางกายในชีวิตประจำวันในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กันตวรรณ มีสมสาร และกัญจนา ศิลปะกิจยาน. (2561).การพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุค 4.0 . วารสารอิเล็กทรอนิกส์,5(2).

สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก http://acad.vru.ac.th/Journal/journal%208_1/8_1_13.pdf.

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับ

เด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร,39 (1): 113-129.

___________.(2564). พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย(เอกสารประกอบการสอน).

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพ็ญศรี แสวงเจริญ. (2564). การส่งเสริมสมรรถนะเด็กปฐมวัยในช่วงรอยเชื่อมต่อจากอนุบาลสู่

ประถม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์,15(3). สืบค้นเมื่อ . 8 ธันวาคม 2564,

จาก https://so04.tcithaijo.org/index.php/eduku/article/view/254159

มติชน. (2564ก). การแพร่ระบาดไวรัสโควิด19เป็นอย่างไร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์,4(2).

สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/general/news-427442

_____. (2564ข). การบูสต์วัคซีนเพื่อป้องกันโควิด19. วารสารอิเล็กทรอนิกส์,4(2). สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก

https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3107656

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา. (2565).รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส

ในไทย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์,2(1). สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2565, จาก https://www.moicovid.com .

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). ชีวิตวิถีใหม่ชีวิตดีเริ่มที่เรา.

วารสารอิเล็กทรอนิกส์,130(2). สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2564,

จากhttp://hepa.or.th/assets/file/journal/book/10.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). พหุปัญญาบนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับเด็ก

ปฐมวัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์,57(2).สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564,

จาก http://academic.obec.go.th/images/document/_d_1.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2561) . พฤติกรรมของเด็กกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสมรรถนะ

ของเด็กปฐมวัยตามระดับควอไทล์(Quartile)และจำแนกตามกลุ่มอายุของเด็ก3-5ปี.วารสารอิเล็กทรอนิกส์,119(42).

สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564, จากhttp://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1580-file.pdf.

Silander, P. (2015). Phenomenon-Based Learning. 2 Oct 2021, Retrieved From

http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html