การจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พจนา แก้วกำไร
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำผ่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คนโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 2) แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ชุดฝึก 3) แบบทดสอบวัดภาคความรู้ ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินภาคปฏิบัติทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t–test แบบ (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3มีประสิทธิภาพ 82.20/87.39 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.7883  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01  4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กรรณิการ์ พวงเกษม. (2540). เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างแบบฝึกหัดภาษาไทยระดับประถมศึกษา

ในภาควิชาประถมศึกษา.สัมมนาประถมศึกษาสัมพันธ์ ครั้งที่ 15.

เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรรณิการ์ พวงเกษม. (2554). การสอนเขียนเรื่องโดยใช้จินตนาการทางสร้างสรรค์ในระดับ

ประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธนานันท์ ชาติชนบท. (2554). การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยแนวคิด Synectic Instructional Model.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบันฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประยงค์ ต่อพันธุ์. (2547). การพัฒนาแผนและแบบฝึกภาษาไทย เรื่อง กินดีมีสุข

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศศิธร ธัญลักษณานันท์. (2542). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. กรุงเทพฯ : เธิร์ด

เวฟเอ็ดดูเคชั่น. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริรัตน์ จิตแสง. (2553). การพัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ด้วยกระบวนการคิดแบบหมวก 6 สี

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสนีย์ วิลาวรรณ. (2549). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน พัฒนาทักษะภาษา เล่ม 3.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.