พลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

Main Article Content

พงศกรณ์ พิลาบุตร
เพชรอนันต์ บุญแน่น
พัชรากรณ์ เพ็ชรมณี
วรกิจ มงคลพร
ภัทรพร พันธุออน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นต่อพลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อพลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล อายุ เพศ ศาสนา และรายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบค่า (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และเมื่อพบความแตกต่างจะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ (Post hoc) ด้วยวิธีของ LSD


         ผลการวิจัยพบว่า


         1.พลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเลือกตั้ง รองลงมาคือ ด้านการร้องเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการชุมนุม


  1.   ผลการทดสอบสมมติฐานเพื่อเปรียบเทียบพลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่าประชาชนที่มีอายุ เพศ ศาสนา ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นพลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกัน แต่ประชาชนที่มีรายได้ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อพลังอำนาจของสื่อสังคมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กนก จินดา. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ผู้จัดการออนไลน์. (2553). การเมืองระอุ Facebook ยิ่งเดือด. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=95300000 56097

พิสิทธิ์ศักดิ์ ห้วยหงส์ทอง. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพเราะ เลิศวิราม. (2554). Social media กับการเมือง. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.positioningmag.com/content/social-media

มงคล พวงกิจจา. (2553). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, ศูนย์สันติวิธีเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย.

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพโพลล์. (2551). การแสดงออกทางการเมืองในยุคสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566, จาก http://bangkokpoll.bu.ac.th/ poll/result/poll644.php?pollID=504

สมพร เฟื่องจันทร์. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 97-106.

สยาม อินเตอร์รีเจนท์. (2564). ย้อนความสำเร็จ ถอดบทเรียน วิธีหาเสียงออนไลน์ของบารัค โอบามา. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.siamintelligence.com/ obama-online-campaing-lessons

สุพล พรหมมาพันธุ์. (2563). หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ บทความพิเศษ: การรณรงค์หาเสียงด้วยโซเชียลมีเดีย. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.ryt9.com/ s/tpd/1147370

หยดฟ้า ราชมณี. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการเลือกตั้งของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภฏั นครศรีธรรมราช. วารสารมนุษย์ศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 9(2), 121-134.

เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะสถิติประยุกต์: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

เอื้ออารี เศรษฐวานิช. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 3(3), 309-327.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.