แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

บงกชมาศ แดงมณี
ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างใช้ในงานวิจัยนี้คือ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 297 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มนุษยสัมพันธ์ อิทธิพลของครูที่มีต่อการตัดสินใจ โอกาสความก้าวหน้า สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สิทธิและความเสมอภาค ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้บังคับบัญชา ความสมดุลของชีวิต และค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยา ได้แก่ (1) สถานศึกษาควรมีการวางแนวทางการส่งเสริมบุคลากรครูให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สามารถทำงานร่วมกันโดยปราศจากความขัดแย้ง สร้างแรงบันดาลใจและสร้างความภาคภูมิใจให้กับครู (2) สถานศึกษาควรสร้างโอกาสก้าวหน้าทางด้านวิชาการ สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้ครูผู้สอน เปิดโอกาสให้ครูผู้สอนได้ใช้ความรู้และความสามารถอย่างเต็มที่ และ (3) สถานศึกษาจะต้องมีการคำนึงถึงความปลอดภัย พัฒนาปรับปรุงให้มีแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
Research Articles

References

กองสวัสดิการแรงงาน. (2566). คุณภาพชีวิตในการทำงาน. กรุงเทพฯ: กองสวัสดิการแรงงาน.

Walton, R. (1980). Quality of work life activities: A research agenda. Professional

Psychology, 11(3), 484–493.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. (2565). รายงานประจำปี 2565.

พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the

Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor

Onderwijs Research, 2, 49-60.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York:

Harper Collins.

อุษา งามมีศรี. (2565). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียน

ประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 .

วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 163-176.

ดนุสรณ์ คุ้มสุข. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ในโรงเรียนอนุบาลบางกรวย (วัดศรีประวัติ). การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตร-

มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สาธร ทรัพยรวงทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตครูในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(5),

-1776.