แนวทางการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม

Main Article Content

ณรงค์ ยอดขำใบ
ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2) เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ ครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร  สมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 คน ด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการจำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามโดยรวมอยู่ในระดับมาก  และสภาพที่ประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3 ลำดับแรก คือ 1. ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 2. ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 3. ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีการวางแผน ออกแบบ ติดตามการใช้และประเมินผลการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา (2) ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ต้องมีการวางแผนและการจัดการอย่างมีระบบ เพื่อให้การวัดผลและการประเมินเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (3) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมและสร้างสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีคุณภาพ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. สืบค้นจาก

http://academic.obec.go.th/web/home.

จิรารัตน์ กระจ่างดี. (2562). การศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส

ในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

นุชเรศ คำดีบุญ. (2564). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

พัชญ์พิชา จันทา. (2563). แนวทางการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา

ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์ เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2.

(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความ

คิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎรธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. (2565). ข้อมูลทั่วไปของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม. สืบค้นจาก http://www.sesaskss.go.th/.

อรชร วรรณสอน. (2563). อนาคตภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล

เพื่อรองรับการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยศิลปากร).

เอื้ออังกูร ชำนาญ. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของนักเรียนโรงเรียนพื้นที่สูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก

เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 8 (ฉบับที่ 8), 90-104.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research

Activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.