ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

พัชรินทร์ ชูช่วย
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อ การบริหารงาน ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทยสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยจำแนกตามระดับวุฒิการศึกษาประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตำแหน่งวิทยฐานะกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอนกลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 248 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (SimpleRandomSampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé’s post hoc comparison)                    


ผลการวิจัยพบว่า 


  1. ครูกลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ความพึงพอใจต่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียน สหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2         ทั้งในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริการสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและตำแหน่งวิทยฐานะต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้บริการสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าการบริหารงานด้านวิชาการและการบริหารด้านงบประมาณไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่3) พ.ศ.2553 กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2557). เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. (ออนไลน์).

แหล่งที่มา:http://www.drkanchit.com/general articles/articles/general_24.

html.18 มีนาคม 2564.

เฉลียว ศิริมาศ. (2553). ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ประจงศักดิ์ สถิตน้อย. (2553). ความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานของ ผู้บริหารโรงเรียนบ้านศรีทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2554). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

พนมไพร คำขจร. (2551). ความพึงพอใจของพนักงานครูต่อการบริหารงานของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาลฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

พีรณันต์ สุขสมบูรณ์. (2553). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน

วัดราษฎร์รังสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และคณะ. (2559). เอกสารประกอบการสอนการศึกษาอิสระ :

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : บริษัท มิตรภาพการพิมพ์ และสตูดิโอ จำกัด.