การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาทูกรอบสมุนไพร เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG 2) เพื่อศึกษาแนวทางการผลิตน้ำพริกปลาทูกรอบสมุนไพรตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนชาวบ้าน กลุ่มแม่บ้าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากการระดมความคิดเห็น การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำปัญหาและอุปสรรค์ในการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งประเมินกระบวนการผลิตน้ำพริกปลาทูกรอบสมุนไพรตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีความประสงค์ที่ต้องการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตภัณฑ์ และเลือกเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ โดยปรับปรุงสูตรที่ตรงต่อความต้องการของลูกค้า และเมื่อประเมินกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วพบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 99 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.50 โดยมีข้อที่ต้องปรับปรุงคือ 2) เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ผลิต การทำความสะอาด และการบำรุงรักษา จากการประเมินนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหารและยาต่อไป
Article Details
References
จิราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนา, ทิพยาภรณ์ ปัทธา, อ้อมทอง พัฒนพงศ์ และแดน กุลรูป. (2565). “การ
พัฒนาแนวทางการผลิตน้ำพริกลาบของชุมชนตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
เข้าสู่มาตรฐานการผลิตอาหารและยา,” วารสารวิชาการรับใช้สังคมสังคม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 6(2):29-30.
บุญชม ศรีสว่าง. (2556). ระเบียบวิธีทางสถิติเพื่อการวิจัย. เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5).
สุวิริยา Epist.
อมรรัตน์ แก้วรถ.(2556). “การศึกษาเพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้กิจกรรม
พัฒนาศักยภาพชุมชนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ณ
วิสาหกิจชุมชนบ้านลำในใต้ อ.ศรีนครินทร์” วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัย
ทักษิณ.