การจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบคลังหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

ณัฐพล ดำรงเชื้อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้           ตลอดชีวิตด้วยระบบคลังหน่วยกิต 2) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินการในระบบคลังหน่วยกิต ของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ และ 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินงานในระบบคลังหน่วยกิต ที่ควรจะเป็นและสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้            เป็นการการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research)  โดยการสำรวจรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การดำเนินระบบ            คลังหน่วยกิต การเทียบโอนหน่วยกิตและผลการเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์และนำเสนอโดยวิธีพรรณนา (Descriptive Method)                                  


         จากการวิจัยพบว่า


  1. แนวทางการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบคลังหน่วยกิตได้มีการกำหนดนโยบายไว้ในยุทธศาสตร์ระดับต่าง ๆ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) นอกจากนี้ยังได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิต ได้แก่ ประกาศคณะกรรมการมาตรฐาน การอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565              

  2. รูปแบบการดำเนินการในระบบคลังหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การเรียนแบบสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า (Pre-degree) การเรียนแบบ Non-Degree และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากการฝึกอบรม ประสบการณ์ของบุคคล ตลอดจนการเรียนหลักสูตรระยะสั้น สำหรับหลักสูตรที่เปิดดำเนินงาน มีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ รายวิชาหรือชุดวิชาในหลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้ว หลักสูตรฝึกอบรม และหลักสูตรระยะสั้น

  3. รูปแบบการดำเนินงานในระบบคลังหน่วยกิตที่ควรจะเป็นและสอดคล้องกับบริบทของหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ได้แก่ การเรียนแบบสะสมหน่วยกิต ล่วงหน้า (Pre-degree) การเรียนแบบ Non-Degree และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์จากการฝึกอบรม ประสบการณ์ของบุคคล โดยหลักสูตรปกติที่เปิดสอนอยู่แล้วที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของสภาวิชาชีพสามารถนำมาดำเนินการในระบบคลังหน่วยกิตได้ทุกรายวิชาส่วนในหลักสูตรที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสภาวิชาชีพ ได้แก่ คุรุสภา สภาการพยาบาล สภาการสาธารณสุขชุมชน และสภาวิศวกร สามารถนำมาดำเนินการโดยพิจารณาการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาตามเงื่อนไขขององค์กรที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้อาจดำเนินการในรูปแบบหลักสูตรฝึกอบรม และหลักสูตรระยะสั้น

Article Details

บท
Research Articles

References

ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ ระดับวิชาชีพ พ.ศ. 2563. (2563, 1 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 280 ง. หน้า 36-44.

ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชน ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพ การสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2566. (2566, 13 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 168 ง. หน้า 21-29.

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยการรับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2554. (2554, 4 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 ตอนพิเศษ 26 ง. หน้า 59-62.

ชนินทร เพ็ญสูตร, อัญชลีภรณ์ สุขป้อ และสุนทรี โตวัฒน์นิมิต. (2565). การพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้น ในรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต ของคณะรัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ. (งานวิจัยสถาบันเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบ คลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 24 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 273 ง. หน้า 28-31.

ประชาชาติธุรกิจ. (2565, 18 ตุลาคม). เปิดตัวระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ นำร่อง 4 มหาวิทยาลัย ปี 2566. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2566 , จากเว็บไซต์ https://www.prachachat.net/ education/news-1089494

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 1116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1 -23.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิกการพิมพ์.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 , จากเว็บไซต์ https://www.nxpo.or.th/rajabhatstrategicactionplan

. (2563). รายงานการศึกษา การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อรองรับการพลิกโฉมฉับพลันและวิกฤตการณ์โลก. ม.ป.ท..

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.

อรุณี ตระการไพโรจน์. (2561). ระบบธนาคารสะสมผลการเรียนรู้สำหรับการศึกษา ตลอดชีวิตของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์). ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php