การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ“ผลการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ”

Main Article Content

กวิน บุญประโคน
อาทิตย์ ปัญญาคำ
พลากร มะโนรัตน์
ยรรยงค์ พานเพ็ง
มนัสวี บุรานศรี

บทคัดย่อ

 การวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่มีต่อการทรงตัวและการเคลื่อนไหวในผู้สูงอายุ ประชากร คือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลโนนสะอาด อ.ศรีบุญเรือง  จ.หนองบัวลำภู ที่มีอายุระหว่าง   60-79 ปี ในเขตพื้นที่ จำนวน 60 คน ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย สัดส่วนร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว ทดสอบการทรงตัวและทดสอบความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต แล้วทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย จำนวน 40 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทำการออกกำลังกายด้วยผ้า ทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของสมรรถภาพทางกาย ทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ matched pair t-test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการและภายหลังการเข้าร่วมโครงการ 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันของสัดส่วนร่างกาย คือ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว สมรรถภาพทางกาย ด้านความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ และการทรงตัว (TUGT) วินาที พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ไม่พบความต่างกันของสัดส่วนร่างกาย คือ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว  ดัชนีมวลกาย รอบเอว และสมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และด้านทรงตัวโดยการทดสอบยืนยกเข่าขึ้น – ลง 2 นาที แสดงให้เห็นว่าผลการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าส่งผลต่อความอ่อนตัวและการทรงตัวในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายด้วยผ้าจึงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขาและข้อเท้า ยังช่วยในการพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). การละเล่นพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์

เจริญ กระบวนรัตน์. (2560). การออกกำลังกายเพื่อคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ, 43(1), 5-15.

สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มยุรี ถนอมสุข และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ การสร้างต้นแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุอำเภอกำแพงแสน. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

พรรณทิพ แสงสว่าง. (2559). ผลของการออกกำลังกายแบบก้าวตามตารางต่อสมรรถภาพทางกาย ในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วีระวัฒน์ แซ่จิว. (2559). กิจกรรมทางกายและสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายในจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพิตร สมาหิโต และคณะ. (2556). แบบการทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย สาหรับผู้สูงอายุ อายุ 60-89 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

___ . 2564. (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2563. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Keshavarzi, F., Azadinia, F., Talebian, S., & Rasouli, O. (2022). Impairments in trunk muscles performance and proprioception in older adults with hyperkyphosis. Journal of Manual & Manipulative Therapy, 30(4), 249-257.

Lu, Z., Ye, P., Er, Y., Zhan, Y., Deng, X., & Duan, L. (2022). Body pain and functional disability predict falls in Chinese older adults: a population-based cohort study. Aging clinical and experimental research, 34(10), 2515-2523.

Mazzeo (1994: 992-1008) Mazzeo, R.S. 1994. The Influence of Exercise and Aging on Immune Function. Medicine and Science in Sports and Exercise. 30(6): 992-1008.