ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1

Main Article Content

ชมพูนุท เชียงทอง
สุกัญญา สุดารารัตน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ  ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีของ Manz & Sims (2001) เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD


            ผลการวิจัยพบว่า


1) ภาวะผู้นําเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนให้เกิดภาวะผู้นำตนเองผ่านการทำงานเป็นทีม ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในแก่บุคลากร ด้านการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมของภาวะผู้นำด้วยตนเอง ด้านการอำนวยความสะดวกให้บุคลากรมีภาวะผู้นำตนเอง โดยการให้รางวัลและชี้แจงสิ่งที่ผิดพลาด ด้านการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นผู้นำด้วยตนเอง  และด้านการส่งเสริมเจตคติทางบวก  ยกเว้นด้านการส่งเสริมให้บุคลากรตั้งเป้าหมายด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง


2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อระดับภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม พบว่า เพศ  ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ครูที่อยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
Research Articles

References

กัลยา อินทรีย์. (2556). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชลบุรี เขต 2 . งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิดารัตน์ เอี่ยมเซี่ยม .(2565).ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 .วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2565 หน้า 102-110

บดินทร์ วรรณเกตุ. (2556). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5).

ชลบุรี: มนตรี จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). หลักสูตรผู้นำที่ีมีประสิทธิภาพ

(Effective Team Leader). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร ฉบับปรับปรุง.

พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สายใจ ชูฤทธิ์. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามการ

รับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. งานนิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี.

สุกัญญา สุวรรณดี. (2559).ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Manz, C., & Sims, H. P. (2001). The new superleadership: Leading others to lead themselves. Berrett-Koehler Publishers.

Yukl. G. A. (2002). Leadership in Organizations. Upper Saddle River:

Prentice Hall.