การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 10

Main Article Content

อติพร สายแวว
ชวนคิด มะเสนะ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล ของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 10 2) เปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล ของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 10 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่10 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 214 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู รวมทั้งสิ้น 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล ของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 10 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


2)การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายที่ 10 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน 3)แนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล ของศูนย์การศึกษาพิเศษในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 10 ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 3.1) ด้านการวางแผนบุคคล ผู้บริหารควรดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยมีการวางแผน คาดการณ์ความต้องการ เพื่อให้ได้บุคคลที่มีประสิทธิภาพ เข้ามาปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา3.2) ด้านการสรรหาบุคคล ผู้บริหารควรดำเนินการตามกระบวนการในการค้นหาและคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเข้ามาปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงคุณภาพ ความคุ้มค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อสถานศึกษา3.3) ด้านการพัฒนาบุคคล ผู้บริหารควรมีการส่งเสริม สนับสนุน ให้บุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน เพื่อนำมาปรับใช้กับงานให้มีประสิทธิภาพ 3.4) ด้านการธำรงรักษาบุคคล ผู้บริหารควรส่งเสริมให้บุคลากรมีความรักศรัทธาในงานที่ทำ สร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ(2546), คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : คุรุสภา ลาดพร้าว.

ทัศพร เกตุถนอม(2565), “การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ในกลุ่มนนท์วัฒนะ สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2,” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9: 1 (กันยายน 2565): 120-121.

ฐิติยา ปทุมราษฎร์ และจิณณวัตร ปะโคทัง(2557), สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทัศพร เกตุถนอม(2565), “การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ในกลุ่มนนท์วัฒนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2,” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9: 1(กันยายน 2565): 120-121.

บุญชม ศรีสะอาด(2560), การวิจัยเบื้อยงต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิกุล จำปาสา(2556), ศึกษากระบวนการบริหารงานบุคคลที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เมตตา เจริญโพธิ์ วรกฤต เถื่อนช้าง และปฏิธรรม สำเนียง(2563), ประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลเชิงพุทธโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค.

วิภาดา สารัมย์(2562), การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาปฐม

ศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรพงษ์ เถาว์ชาลีและนพดล เจนอักษร(2557), ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษาที่สัมพันธ์กับการเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสาร วิชาการ Veridian E-Journal. 7: 2 (เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2557): 854.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(2555), คู่มือศูนย์การศึกษาพิเศษ.กรุงเทพฯ: ธรรมรักษ์การพิมพ์

อลงกรณ์ งามกุศล(2559), การดำเนินการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา ตวามความคิดเห็นของ

ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทพสตรี.

Aja-Okorie U(2016), Teachers Personnel Management as Determinant Of Teachers

Productivity in Secondary Schools in DELTA STATE, NIGERIA. British Journal of Education, 4(8), 13-23.

Scott Edward, Meier(2001),“Northern California School uperintendents’Perceptions

Regarding Conflicts with Board Member in the Area of Human Resource Administration,” Thesis (Ed.D) University of La Veme.