การประเมินโครงการต้นกล้านิติศาสตร์ รัฐศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนศรียาภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุราษฎร์ธานี ชุมพร

Main Article Content

อภิชาติ ศรีทองสม
เบญจพร ชนะกุล
นพรัตน์ ชัยเรือง
อโนทัย ประสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปฏิกิริยา ประเมินความรู้ ประเมินพฤติกรรม และประเมินผลลัพธ์ โครงการต้นกล้านิติศาสตร์ รัฐศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนศรียาภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่เรียนวิชาการเมืองการปกครองไทย วิชากฎหมายอาญา และนักเรียนชุมนุมต้นกล้านิติศาสตร์รัฐศาสตร์ จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test


ผลการศึกษาพบว่า1. การประเมินปฏิกิริยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ วิทยากรมีความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ครบถ้วน รองลงมา ประโยชน์จากการเข้าฝึกอบรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ เอกสารที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมตรงกับเนื้อหา     


  1. การประเมินความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังเรียนของผู้เข้าอบรมโครงการ พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. การประเมินพฤติกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์รายวิชากฎหมายและวิชาการเมืองการปกครองดีขึ้น รองลงมา นักเรียนมีแนวคิดที่จะเรียนต่อเกี่ยวกับกฎหมายและการเมืองการปกครองในระดับที่สูงขึ้น และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การรวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

4. การประเมินผลลัพธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีความเคารพในสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น รองลงมา นักเรียนมีความสนใจในการเข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการด้านกฎหมายและการเมืองการปกครอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียนเห็นคุณค่าของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

กมล ทองธรรมชาติ และคนอื่น ๆ. (2553). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานสังคมศึกษา ศาสนา และ

วัฒนธรรม ม.1: ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2555). การบริหารและประเมินโครงการ. พิมพ์ครังที่ 3. ชลบุรี: มนตรี.

เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2555). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์ สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ

ผู้ใช้เทคโนโลยีธนาคารพาณิชย์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชาว์ อินใย. (2553). การประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา วชิรหัตถพงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้ M-training

และการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้า เรื่องการใช้กระดานฉริยะ สำหรับครูสังกัดโรงเรียน

องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดชลบุรี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์.

มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิดาภรณ์ ละม้ายศรี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงาน

ของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ธีระ กาญจนารักษ์. (2555). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม. ราชบุรี: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

น้อย ศิริโชติ. (2552). เทคนิคการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: พีระพัฒนา .

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาสน์

พรกุล สุขสด. (2556) การพัฒนาชุดฝึกอบรมสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข

ประจำหมู่บ้าน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พัทธนันท์ ปั้นแก้ว. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้

ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์โดยการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอน สำหรับ

ครูผู้สอน. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

พิจาริน เมืองตาแก้ว. (2563). การประเมินโครงการการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโอเน็ตของนักเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนในอำเภอโกสัมพีนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎ

เชียงใหม่.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ

เคอรมิสท์.

พิยะภา ใจซื่อสมบูรณ์. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนวถีพุทธของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ

(บ้านบ่อราษฎรบำรุง). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ระดับปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

พิสณุ ฟองศรี. (2550). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทพอเพอรตี้ จำกัด.

. (2551). วิจัยชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:

บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

. (2553). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัทด่าน สุทธา

การพิมพ์ จำกัด.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิซซิ่ง

เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว. (2544). การบริหารการฝึกอบรม. คณะวิทยาการจัดการ. สถาบันราชภัฏ

เพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: ริมปิงการพิมพ์.

ไพศาล หวังพานิช. (2551). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

รัตนะ บัวสนธ์. (2540). การประเมินโครงการ: การวิจัยเชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อแกรมมี่.

. (2554). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครสวรรค์:

หจก.ริมปิงการพิมพ์.

วันทนี ญาณหาญ. (2563). การประเมินโครงการต้นกล้าคุณธรรมนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดม

ศึกษาภาคใต้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. หลักสูตรปริญญา

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิจิตรหัตถกร.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2556). การประเมินโครงการ แนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8.

กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bernardin and Russell. (1998). Human Resource Management. McGrawHill.

Damayanti, E., Lbrahim, M., & Ismail, M. (2021). Evaluation of Online Learning Programs at Universities Using the CIPP Model. Universitas Islam Negeri Alauddin Makassar, Makassar, Indonesia.

Heydar, M., Taghva, F., Amini, M., & Delavari, S. (2019) Using Kirkpatrick’s model to

measure the effect of a new teaching and learning methods workshop

for health care staff. Shiraz University of Medical Sciences, Shiraz, Iran.

Kirkpatrick, D.L. (1978). “Evaluating In-House Training Program.” Training and

Development Journal. 32.(9), September, 6-9.

Rahmaniar, R., Yahya, M., & Lamada. M. (2021). Evaluation of Learning through

Work Practices Industry Program at University with the CIPP Model Approach. Department of Vocational Technology Education, Universitas Negeri Makassar, Makassar 90222, Indonesia.

Stufflebeam and Shinkfield. (1985). Systemic Evaluation. Boston: Kluwep-Nijhoff

Publishing.

Suchman, Edward A. (1987). Evaluation research : Principle and practice in

Public service and social action programs. New York: Ruge Sage

Foundation.