การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูมืออาชีพโรงเรียนศรียาภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

Main Article Content

สุชาดา คุ้มครอง
เบญจพร ชนะกุล
นพรัตน์ ชัยเรือง
อโนทัย ประสาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปฏิกิริยา ประเมินความรู้ ประเมินพฤติกรรม และประเมินผลลัพธ์ การประเมินโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูมืออาชีพโรงเรียนศรียาภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่เข้าฝึกอบรมโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูมืออาชีพโรงเรียนศรียาภัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 และผู้บริหารโรงเรียนศรียาภัยรวมทั้งสิ้น 143 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินปฏิกิริยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือวิทยากรเรียงลำดับบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน รองลงมา ประโยชน์ที่ได้จากการฝึกอบรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ เอกสารที่ใช้ประกอบการฝึกอบรมตรงกับเนื้อหา 2) การประเมินความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังเรียนของผู้เข้าอบรมโครงการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพครูมืออาชีพโรงเรียนศรียาภัย พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การประเมินพฤติกรรม ในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ ครูได้มีการเตรียมตัวในการจัดเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในรายวิชาที่ตนเองได้รับผิดชอบ ขั้นการจัดการเรียนการสอนของครูเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชามากขึ้น 4) การประเมินผลลัพธ์จากผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปพัฒนารายวิชาที่ตนเองสอนให้มีประสิทธิภาพ ครูถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนด้วยความเต็มใจ ครูยอมรับฟังความคิดเห็นจากนักเรียนที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน รองลงมา ครูให้ความสนใจและเอาใจใส่นักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ครูนำการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการของนักเรียนไปต่อยอดในการนำเสนอผลงานเพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพ การประเมินผลลัพธ์จากนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนมีความใส่ใจในการเรียนทุกรายวิชา รองลงมาคือ นักเรียนได้รับความรู้จากการจัดการสอนแบบบูรณาการ สื่อที่ครูนำมาใช้มีความทันสมัยและน่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดการประเมินผลลัพธ์จากครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ครูสามารถให้คำปรึกษาและอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในเรื่องที่นักเรียนไม่เข้าใจได้ รองลงมา ครูสามารถถ่ายทอดเนื้อหารายวิชาให้แก่นักเรียนได้ถูกต้องและชัดเจน และครูสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการแก่เพื่อนครูด้วยกัน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขจรศักดิ์ คำกาน. (2565). การประเมินโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน

นันทบุรีวิทยา วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร จังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยพะเยา.

ทวีศักดิ์ เจริญเตีย. (2565). การประเมินโครงการพัฒนาครูในโรงเรียนเครือข่ายด้านการจัดการเรียนรู้และองค์ความรู้ทางวิชาการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ชลบุรี.

e-Journal of Education Studies, Burapha University, 4(4), 16-32. สืบค้นจาก

https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/261868.

นิรุสณา เจ๊ะบู. (2560). การวิจัยเชิงประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูผูสอนไมตรงวุฒิ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใตโดยประยุกตใชรูปแบบการประเมินแบบไคโร (CIRO). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บรรจบ จันทอง. (2565). การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปวันรัตน์ วังมา. (2565). การประเมินโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น วิทยาลัยการศึกษา

มหาวิทยาลัยพะเยา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.

พนมนคร มีราคา. (2559). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร...ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย. 5(2),23-25.

Mahmoodi M, Rashtchi M & Abbasian and G. (2019). Evaluation of In- service

Teacher Training Program in Iran: Focus on the Kirkpatrick Model.

Department of Foreign Languages, Faculty of Literature, Humanities, and

Social Sciences, Science and Research Branch, Islamic Azad University,

Tehran, Iran.

Razanaufal, M. W. & Lantu, D. C. (2019). Evaluation of leadership training

program using Kirkpatrick Model case study in Telkom Corporate

University. Undergraduate Program School of Business and Management

Institut Teknologi Bandung.