ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกกองทุนบ้านพัฒนาดอนเขาะ นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

เหลี่ยมเพ็ด สุวันนะผ่องใส
สุรพล ซาเสน
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหาร และสมาชิกภายในกองทุนหมู่บ้านเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานที่ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปัจจัยที่มีผลต่อ การออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านบ้านพัฒนาดอนเขาะ นครปากเซ แขวงจำปาสัก สปป. ลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกภายในกองทุนหมู่บ้าน บ้านพัฒนาดอนเขาะ นครปากเช แขวงจำปาสัก สปป. ลาว จำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 27 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติค่าที และค่าเอฟ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe


                 ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านบ้านพัฒนาดอนเขาะ นครปากเซ แขวงจำปาสัก สปป. ลาว ตามความคิดเห็นของสมาชิกกองหมู่บ้าน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

  2. การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านบ้านพัฒนาดอนเขาะ นครปากเซ แขวงจำปาสัก สปป. ลาว ตามความคิดเห็นของสมาชิกกองหมู่บ้าน จำแนกตาม เพศ อายุ รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน ระดับการศึกษาโดยภาพร่วม และรายด้านไม่แตกต่างกัน และอาชีพ โดยรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านผลตอบแทน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านบ้านพัฒนาดอนเขาะ นครปากเซ แขวงจำปาสัก สปป. ลาว ตามความคิดเห็นของสมาชิกกองหมู่บ้าน 1. ด้านผลตอบแทน สถาบันการเงินอาจลองปรับเปลี่ยนนโยบายการจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยเพื่อสร้างแรงจูงใจของระยะเวลาการสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ที่สนใจจะออมเงินหรือลงทุน 2. )ด้านสภาพคล่อง สถาบันการเงินควรชี้แจง และทําความเข้าใจเรื่องสภาพคล่องของการส่งมอบเงินสดที่มีระยะเวลาตามที่ตลาดหลักทรัพย์ ได้กําหนดให้แก่ผู้ที่สนใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินดังกล่าวด้วย 3. ด้านการประชาสัมพันธ์ ควรหามาตรการส่งเสริมต่าง ๆ ออกมาเพื่อดึงดูดความสนใจในการออมของประชากร กลุ่มนี้ให้มากขึ้น ในปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและสังคมต้องเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน อาจมีเหตุการณ์คาดไม่ถึง เช่น อุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วยจะเกิดกับตนเอง และครอบครัว 4. ด้านการบริการ ควรจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้คอยให้คําแนะนําช่วยเหลือ และอํานวยความสะดวกเเก่สมาชิกในการมาขอใช้บริการ 5. ด้านการตัดสินใจ ควรมีการรณรงค์ให้ประชาชนเห็นถึงความสําคัญของวัตถุประสงค์ในการออมเงิน เช่น ใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ควรเพิ่มช่องทางในการรณรงค์ให้ประชาชนรู้จัก เช่น บิดามารดาแนะนําบุตรหรือบุตรแนะนําบิดามารดา และภรรยาแนะนําสามี เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมของประชาชน

Article Details

บท
Research Articles

References

พัฒนา ทองพึง. (2555). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุ กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2558) ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ. (ออนไลน์)13 พฤศจิกายน 2558 (อ้างเมื่อ 13 พฤษภาคม 2564). จาก http://www.cebf.utcc.ac.th.

ส่งเสริมสหกรณ์, กรม. (2556). วาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมสหกรณ์.

คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ, สำนักงาน. (2544). คู่มือการดำเนินงานสำหรับคณะอนุกรรมการ สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. กรุงทเพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2553). สถิติเศรษฐกิจและการเงิน. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:

วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี, 2543.

ชุมพล จันปุ่ม. (2547). ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เขตอําเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นเรศ หนองใหญ่. (2560). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล หอมสวัสดิ์. (2545). ปัจจัยมุ่งสู่ความสําเร็จในการดําเนินงานกองทุนหมู่บ้าน : ศึกษากรณีกองทุนหมู่บ้านหมู่ 1 ตําบลปะตง อําเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภวรรณ มณีพันธุ์วงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานธนาคารในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.