การจัดการสุขภาพแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ไชยะสัก สีปะเสิด
ไพศาล พากเพียร
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

                 การจัดการสุขภาพแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาการจัดการสุขภาพแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการสุขภาพแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตัวอย่าง จำนวน 254 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


             ผลการวิจัยพบว่า


             การจัดการสุขภาพแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับคือ ด้านทัศนคติมีการนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนางานและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ด้านความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีการสภาพแวดล้อมและบรรยากาศทั่วไปในที่ทำงาน ด้านสวัสดิการและสิ่งจูงใจได้รับสวัสดิการที่โรงงานจัดให้อย่างเหมาะสมและพึงพอใจ ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบมีความพึงพอใจที่ได้ทำงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถและความถนัดของตนเอง ด้านพฤติกรรมส่วนบุคคลผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงานมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน และด้านนโยบายและกฎระเบียบ มีนโยบายส่งเสริมการเสริมสร้างสุขภาพบุคลากรในโรงงานอย่างชัดเจน


                แนวทางการจัดการสุขภาพแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ต้องมีการวางแผนการดำเนินงานมีรายละเอียดเป็นขั้นตอนทม มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ยุทธศาสตร์ โดยความร่วมมือทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน ดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพของบุคลากรมีการตรวจสุขภาพประจำปี กำหนดมาตรการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้เชิงปฏิบัติการ ด้านการจัดการสุขภาพ สร้างความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมให้มากขึ้น สภาพแวดล้อมในการทำงานต้องได้รับการปรับปรุงให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรมีสติ และสมาธิในการทำงานรู้รับผิดชอบในหน้าที่ตนเองเพื่อนำความสุขสู่องค์กร

Article Details

บท
Research Articles

References

เบ็ญจา เตากล่ำ, ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล และเนตรรัชนี ตั้งภาคภูมิ. (2554). การจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยอย่างยั่งยืนในโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบ กรณีศึกษาโรงงานบีสไพพ์ ฟิตติ้งอินดัสตรี จำกัด จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.

ภูชิสส์ ศรีเจริญ. (2562). แนวทางการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรภาคอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์. (2543). การเสริมสร้างสุขภาพคนทำงานในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.

Manion, J. “Joy at Work: Creating a Positive Workplace,” Journal of Nursing Administration. 33, 12 (2003): 652-655.