ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล มหาเพชร บ้านดอนตลาด เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

จันทะลิด คำวงสี
สุรพล ซาเสน
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนอนุบาลมหาเพชร บ้านดอนตลาด เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สปป. ลาว 2.. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลมหาเพชร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานที่ต่างกัน 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนอนุบาลมหาเพชร บ้านดอนตลาด เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สปป. ลาว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t (t-test) และ F (F-test) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe


                ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนอนุบาลมหาเพชร บ้านดอนตลาด เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สปป. ลาว โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน

  2. การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนอนุบาลมหาเพชร บ้านดอนตลาด เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สปป. ลาว จำแนกตาม เพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ และท่านมีภาระ   ที่ต้องส่งบุตรหลานเข้าเรียน โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตาม ระดับการศึกษา และท่านเกี่ยวข้องกับนักเรียนในฐานะ โดยรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ด้านการบริการและงานสัมพันธ์ชุมชน และด้านชื่อเสียงของโรงเรียน แตกต่างกัน

  3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนอนุบาลมหาเพชร บ้านดอนตลาด เมืองจำปาสัก แขวงจำปาสัก สปป. ลาว ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง 1. ด้านการจัด การเรียนการสอน โรงเรียนควรจัดประสบการณ์ และส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2. ด้านบทบาทของครู ครูควรกํากับติดตาม ดูแลนักเรียนในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และมีการประเมินพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคลโดยพร้อมที่จะให้คําปรึกษา และช่วยเหลืออยู่เสมอ 3. ด้านชื่อเสียงของโรงเรียน โรงเรียนควรส่งเสริมความสามารถพิเศษของนักเรียนที่หลากหลาย และควรประชาสัมพันธ์โรงเรียนเมื่อทางโรงเรียนได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นถึงความสําคัญของรางวัลที่ทางโรงเรียนได้รับซึ่งเป็นการสร้างชื่อเสียงของ โรงเรียนอีกทางหนึ่ง 4. ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม โรงเรียนควรการจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมหน้าโรงเรียนให้สะดวกปลอดภัย 5. ด้านการบริการและงานสัมพันธ์ชุมชน โรงเรียนควรจัดทําระบบเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการให้บริการในการติดต่อประสานงานระหว่างผู้ปกครองกับชุมชน

Article Details

บท
Research Articles

References

เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักงาน. ความสำคัญของการศึกษา. (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563) จาก https://web.parliament.go.th.

ปรัชญา เวสารัชช์. (2545). หลักการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2559). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สถิตาภรณ์ วงศ์เขียว. (2544). เหตุผลที่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเชียงใหม่คณาวิทย์. การศึกษาคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพาพร อิทธิสริยานนท์. (2544). เกณฑ์ในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการเลือกโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในอำเภอเมืองเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พรินท์.

สุทธานุช เจนโชติสุวรรณ. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร อ.เมือง จ.นครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). คู่มือการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.

จีระนันท์ แก้วกอ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเสิงสาง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 31. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ณิชามน คงเสือ. (2558). เหตุผลของผู้ปกครองต่อการตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนโครงการหลักสูตรสองภาษาของโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยินดี บัวทอง. (2560). การตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยอดขวัญ ผดุงมิตร. (2557). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโครงการโรงเรียนสองภาษาในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บุษบา เนกขัม. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนโยธินบูรณะ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.