บทบาทของผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่เย็น เป็นสุข” บ้านโนนศรีทอง หมู่ที่ 11 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

วันทนีย์ ไพรเพชรธร
ไพศาล พากเพียร
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ความเป็นมา รวมถึงบทบาทของผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ“อยู่เย็น เป็นสุข”บ้านโนนศรีทอง หมู่ 11 ตำบลสิ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มย่อย และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ หัวหน้าครัวเรือนพัฒนา 30 ครัวเรือน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอขุนหาญ ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการหมู่บ้านโนนศรีทองดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเป็นลำดับแรก คือ การสำรวจทุนชุมชน การจัดทำแผนชุมชน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะใช้ในการวางแผนการพัฒนาจะเห็นได้ว่าบ้านโนนศรีทองมีความพร้อมในเรื่องของทุนชุมชนและการจัดทำแผนชุมชน นอกจากนี้ผู้นำต้องมีลักษณะเป็นผู้นำที่หัวไวใจสู้ สามารถนำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชน และบริหารปกครองชุมชนโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม มีการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านทุกเดือนเพื่อแจ้งข่าวสารและรับเรื่องราวร้องทุกข์จากชาวบ้าน ผู้นำชุมชนบ้านโนนศรีทองมีความพร้อมในการดำเนินงานเป็นทีม โดยเปิดโอกาสให้ผู้นำกลุ่ม องค์กร ชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมเป็นแกนนำขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งจากการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบบ้านโนนศรีทอง พบว่า ทุกขั้นตอนผู้นำชุมชนจะอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมมาเป็นแนวทางหลักในการพัฒนา โดยจะใช้เวทีประชาคมเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ ทุกคนจะมีลักษณะที่คล้ายกัน คือ เป็นคนหัวไวใจสู้ มีจิตเสียสละ คิดแล้วทำทันที ชอบลองผิดลองถูก ชอบเรียนรู้ ซึ่งผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการมีบทบาทสำคัญในการการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ในชุมชน

Article Details

บท
Research Articles

References

ยศ สันตสมบัติ. (2539). ท่าเกวียน : บทวิเคราะห์เบื้องต้นว่าด้วยการปรับตัวของชุมชนชาวนาไทย ท่ามกลางการปิดล้อมของวัฒนธรรมอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: คบไฟ.

คณะกรรมการการอำนวยการเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย. (2549). หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2562). เกร็ดความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท บีทีเอส เพรส จำกัด.

ฉลวยวรรณ ชินะโชติ และคณะ. (2547). ทางเบี่ยง : งานวิจัยที่มีชีวิตด้วยการถอดภาพชีวิตและลิขิตเป็นเรื่องราว. กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.

ชาย โพธิสิตา. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ : สูทกรรมทางความคิดบนฐานแห่งศาสตร์และศิสป์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.