ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์เรื่องการสร้างสรรค์ อารยธรรมโดยวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

วีรดา ไวโสภา
ภุชงค์ แพรขาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์เรื่องการสร้างสรรค์อารยธรรม ก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องการสร้างสรรค์อารยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงทดลอง การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบแผนการทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนอนุบาลเลย จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนวิชาประวัติศาสตร์เรื่องการสร้างสรรค์อารยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผนการจัดการเรียนรู้ ระยะเวลา 11 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และสูตรสถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ T-test แบบ one sample test ผลการวิจัยพบว่า (1)ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่องการสร้างสรรค์อารธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ โดยรวมของของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน อยู่ในระดับ (X̅= 4.61, S.D =0.61)  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด เป็นอันดับ 1 คือ ผู้เรียนทุกคนได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองหรือร่วมกับกลุ่มทุกกิจกรรม (X̅= 4.70, S.D =0.64)  

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_______. (2562) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ปรับปรุง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545) ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2553) และฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562).

จีรณัฐ ทางมีศรี. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1.

ธัญญ์นรี วรวิทย์ธานนท์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ปริญภรณ์ อุไรรัมย์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องพืชน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักร5Eสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สาโรช โศภีรักษ์. (2546). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ. กรุงเทพฯ : บุคพอยท์.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). วิธีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อาภรณ์ ใจเท่ียง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. พิมพครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ.

Collins, O.W. (1990, March). The Impact of Computer-Assisted Instruction upon

Student Achievement in Magnet School. Dissertation Abstracts

International. 50: 2783-A.