ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของนักเรียนต่างชาติซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย

Main Article Content

จตุพร แซ่เตี่ยว

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาในการคุ้มครองสิทธิของนักเรียนต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย เริ่มต้นจากวิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศ และประเทศไทยเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการคุ้มครองสิทธิของนักเรียนต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของนักเรียนต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวีซ่าสำหรับการศึกษา ที่ไม่มีบทบัญญัติให้นักเรียนที่มีวีซ่านักเรียนที่จบการศึกษาในประเทศไทยสามารถยื่นเรื่องขอวีซ่าเพื่อทำงานต่อภายหลังจากจบการศึกษาได้ การขาดบทบัญญัติในการจัดตั้งกองทุนเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสาธารณสุข ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิในด้านการรักษาพยาบาล การการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพในขณะที่กำลังศึกษา และสิทธิในการจัดตั้งสหภาพนักเรียนนักศึกษาต่างชาติ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาต่างชาติในประเทศไทยไม่ได้รับการคุ้มครองว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนตามสมควร ทั้งยังส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้นักเรียนนักศึกษาต่างชาติยังมีความไม่ไว้วางใจที่จะเลือกมาทำการศึกษาในประเทศไทย

Article Details

บท
Research Articles

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2563). : หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2561). สิทธิมนุษยชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

นพนิธิ สุริยา. (2559). สิทธิมนุษยชน:แนวคิดและการคุ้มครอง. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 88. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/search?&sclient=gws-wiz 2566) (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 66).

พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 มาตรา 39, (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: 2566 https://www.studentloan.or.th/th/knowledge (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 66).