สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ

Main Article Content

ภัทรพร จันทร์เปรม
ศักดา สถาพรวจนา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา ในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา ในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูของสถานศึกษาในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 313 คน เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความสอดคล้องรายข้อระหว่าง .60–1.00 และค่าความเที่ยง .94  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูดถึงต่ำสุด คือ ด้านกฎหมาย รองลงมาคือด้านธรรมาภิบาล ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านมนุษยธรรม และ สภาพที่พึงประสงค์ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา ในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสูดถึงต่ำสุด คือ ด้านธรรมาภิบาล รองลงมา คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านมนุษยธรรม และ 2) ความต้องการจำเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาในเครือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ซึ่งเรียงจากค่าความต้องการจำเป็นจากสูงสุดถึงต่ำสุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (PNImodified= .232) รองลงมา คือด้านมนุษยธรรม ด้านธรรมาภิบาล ด้านเศรษฐกิจและกฎหมาย ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2552) .

รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนา CSR ในประเทศไทย และบทบาทอาสาสมัคร (ฉบับแปล).

กรุงเทพฯ: เครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทย

ตามหลักธรรมาภิบาล. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร. (2552). ความรับผิดชอบต่อสังคม CSR: Corporate Social Responsibility. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ.

จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management).กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของ โรงเรียนสังกัดเทศบาล. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ภิรมย์ ลี้กุล. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน ภาค

ตะวันออกสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยศสราวดี กรึงไกร.การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของ สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่6(4), (ตุลาคม-ธันวาคม 2560) :1783- 1795.

รัตน์ชัย ศรสุวรรณ. (2557). การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรม การการศึกษาขั้นพื้นฐาน.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนนทบุรี (2563) รายงานการประเมินผลตนเองของ สถานศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภณกพรโชคชัย. (2552). CSR ที่แท้จริง. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: ก.กมลการพิมพ์.

อนุศรา โกงเหลง. (2562). ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัย ของรัฐ.วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.ปีที่10 (มกราคม – มิถุนายน 2562) : 567-580.

Carroll, A. B. (1991). The Pyramid of Corporate Social Responsibility: Toward The Moral Management of Organization Stakeholders. Business Horizons, 34(4), 39-48