การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

อูบัยดะห์ สุหลง
เพ็ญพักตร นภากุล
ปรีดา เบ็ญคาร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged Coding) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิเชียรชม จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดเชิงคำนวณ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบ t ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged coding) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged coding) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล (TAI) ร่วมกับสื่อการเรียนรู้โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged coding) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62

Article Details

บท
Research Articles

References

กันต์ เอี่ยมอินทราม. 2563. Computer Science Unplugged เรียนคอมฯแบบไม่ใช้คอมฯ (Online). https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/647968. 31 มีนาคม 2563.

เกศราภรณ์ บำรุงภักดี. 2563. การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ครรชิต วงศ์เหิม. 2561. การพัฒนาการแก้ทักษะปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วีสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. 2562. คลังความรู้ SciMath (Online). https://www.scimath.org/article-technology/item/10631-unplug. 27 พฤศจิกายน 2565.

ธิษณามดี พุกประเสริฐ และกิตติคม คาวีรัตน์. 2562. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ปิยธิดา ณ อุบล. 2565. การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เปรมจิตต์ ขจรภัย ลาร์เซ่น. 2551. วิธีการสอนแบบการเรียนรู้. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พจนา, เบญจมาศ. 2558. การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พรนภัส ใหญ่วงศ์ และอังคณา อ่อนธานี. 2564. การพัฒนาชุดเกม Unplugged Coding เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลลิตา ยะปะตัง. 2565. การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชรพัฒน์ ศรีคำเวียง. 2561. คลังความรู้ SCi Math (Online). ). https: www.scimath.org/lesson-technology/item. 20 กันยายน 2565.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2562. เทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2561. คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวิมล นิลพันธ์ และธิติยา บงกชเพชร (2563). เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวน Coding เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

Keereerat, C. 2019. Using the Problem-Solving and App Inventor to Develop Computational Thinking Skill for High School Students. Journal of Education Studies Chulalongkorn University. 47(2), 31-47.