อิทธิพลของปัจจัยด้านบุคลิกภาพและรูปแบบการเรียนรู้ต่อความพึงพอใจในอาชีพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

Main Article Content

มนัสชา เอี่ยมเจริญ
วรางคณา โสมะนันทน์
มฤษฎ์ แก้วจินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านบุคลิกภาพและรูปแบบการเรียนรู้ต่อความพึงพอใจในอาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในอาชีพของบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และรูปแบบการเรียนรู้ในการร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในอาชีพของบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างเป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 108 คนด้วยวิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบลูกโซ่ เครื่องมือของงานวิจัยคือชุดแบบสำรวจออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลทั่วไป 2) แบบสำรวจด้านบุคลิกภาพ 3) แบบสำรวจรูปแบบการเรียนรู้ และ 4) แบบสำรวจความพึงพอใจในอาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Stepwise โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจในอาชีพโดยเฉลี่ยของบัณฑิตอยู่ในระดับมาก องค์ประกอบที่มีค่าสูงที่สุดคือด้านการเติบโตส่วนบุคคลโดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านความรับผิดชอบที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน 2) จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตัวแปรอิสระที่เป็นปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 5 ตัวแปร และรูปแบบการเรียนรู้ 4 ตัวแปรรวมทั้งหมด 9 ตัวแปร พบว่าตัวแปรอิสระที่ร่วมกันให้ค่าอำนาจการพยากรณ์ความพึงพอใจในอาชีพสูงสุดมีจำนวน 5 ตัวแปรประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 3 ตัวแปรได้แก่ ความใส่ใจรายละเอียด ความยินยอมตามผู้อื่น และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ตัวแปรด้านรูปแบบการเรียนรู้ประกอบไปด้วย 2 ตัวแปรได้แก่การคิดเชิงนามธรรม และการทดลองปฏิบัติ สามารถร่วมกันพยาการณ์ความพึงพอใจในอาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรอิสระร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในอาชีพได้ร้อยละ 44.34 (R2adj = .4434) ผลสรุปว่าปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ความพึงพอใจในอาชีพมากที่สุดคือ ความใส่ใจรายละเอียด และรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งอิทธพลต่อการพยากรณ์ความพึงพอใจในอาชีพมากที่สุดคือ การทดลองปฏิบัติ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงแรงงาน, ก. (2565). การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน.

สุนิสา วงศ์อารีย์, (2559). หลักการแนะแนว. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นัจรีภรณ์ สิมมารุณ, (2553). ภาวะ Multicollinearity กับ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ. วารสารวัดผลการศึกษา, 16, 23-29.

Bui, H. T. (2017). Big Five personality traits and job satisfaction: Evidence from a national sample. Journal of General Management, 42(3), 21-30. https://doi.org/10.1177/0306307016687990

Frederick Herzberg, Bernard Mausner, & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work (2nd ed.). John Wiley & Sons Inc.

Harrell, F. E., Lee, K. L., & Mark, D. B. (1996). Multivariable prognostic models: issues in developing models, evaluating assumptions and adequacy, and measuring and reducing errors. Stat Med, 15(4), 361–387. https://doi.org/10.1002/(sici)1097-0258(19960229)15:4

Judge, T. A., Bono, J. E., & Locke, E. A. (2000). Personality and Job Satisfaction: The Mediating Role of Job Characteristics. Journal of Applied Psychology, 85(2), 237-249.

Kolb, A. Y., & Kolb, D. A. (2013). THE KOLB LEARNING STYLE INVENTORY- Version 4.0 A Comprehensive Guide to the Theory, Psychometrics, Research on Validity and Educational Applications. Experience Based Learning Systems, Inc.

Kurian, S., Chanda, S., Naik, C., & Nanda, N. (2019). Kolb's Learning Model: An innovation towards career commitment. Journal of Xi'an University of Architecture & Technology, 11(12), 263-282.

Liew, S.-C., Sidhu, J., & Barua, A. (2015). The relationship between learning preferences (styles and approaches) and learning outcomes among pre-clinical undergraduate medical students. BMC Medical Education, 15(44), 1-7. https://doi.org/10.1186/s12909-015-0327-0

Masnick, G. (2017). DEFINING THE GENERATIONS REDUX. https://www.jchs.harvard.edu/blog/defining-the-generations-redux

Matthews, N. L. (2017). International Encyclopedia of Communication Research MethodsPublisher. In. Wiley. https://doi.org/https://doi.org/10.1002/9781118901731.iecrm0146

McCrae, R. R., & Costa, P. T. (1985). Updating Norman's "Adequate Taxonomy": Intelligence and Personality Dimensions in Natural Language and in Questionnaires. Journal of Personality and Social Psychology, 49(3), 710-721.

McCrae, R. R., & Costa, P. T. (1987). Validation of the Five-Factor Model of Personality Across Instruments and Observers. Journal of Personality and Social Psychology, 52(1), 81-90.

Novikova, I. A. (2013). Big Five (The Five‐Factor Model and The Five‐Factor Theory). In K. D. Keith (Ed.), The Encyclopedia of Cross-Cultural Psychology (1st ed.): John Wiley & Sons, Inc.

Reddan, G. (2015). Enhancing students' self-efficacy in making positive career decisions. Asia-Pacific Journal of Cooperative Education 16(4), 291-300.

Robbins, S. P., & Judge, T. A. (2013). Organizational Behavior (15th ed.). Pearson.

Sanjeev, M. A., & Surya, A. V. (2016). Two Factor Theory of Motivation and Satisfaction:An Empirical Verification. Annals of Data Science, 3(2), 155-173. https://doi.org/10.1007/s40745-016-0077-9

Yusoff, W. F. W., Kian, T. S., & Idris, M. T. M. (2013). HERZBERG’S TWO FACTORS THEORY ON WORK MOTIVATION: DOES ITS WORK FOR TODAYS ENVIRONMENT? Global Journal of Commerce & Management Perspective, 2(5), 18-22.