การดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านการศึกษา โดยรวมและรายด้าน 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยรวมและรายด้าน ตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำแนกตามบุคลากรมหาวิทยาลัยและผู้นำชุมชน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- การดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยรวมพบว่ามีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเศรษฐกิจ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านการศึกษา พบว่ามีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบการดำเนินงานยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยรวมและรายด้าน ตามความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำแนกตามบุคลากรมหาวิทยาลัยและผู้นำชุมชน โดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านการศึกษา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าไม่แตกต่างกัน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กฤษกนก ดวงชาทม. (2556). บทบาทเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ.ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.
กองนโนบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2564). แผนพัฒนาความเป็นเลิศและการผลิตกำลังคนระดับสูง เฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. กรุงเทพฯ.
จินตนา กาญจนวิสุทธิ์. (2558). เส้นทางวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 1 ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญนำ ปานขำ. (2543). บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น : การวิจัยรายกรณีสถาบันราชภัฏเพชรบุรี. ปริญญาโท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนิดา เนื่องพะนอม. (2560). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารเซนต์จอห์น.
ปัณณทัต ขนขุนทด และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(1), 209-222.
พงศ์เทพ สุวรรณวารี และคณะ. (2555). การจัดการขยะและน้ำเสียโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในเขตเทศบาลนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.
พรพันธุ์ เขมคุณาสัย. (2544 อ้างอิงในธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์). ชุมชนศึกษา Community Study (พิมพ์ครั้งที่ 1): สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระธนากร ระตะจารุ. (2022). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(2), 57-75.
ภัทรา บุรารักษ์. (2557). ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยสัมพันธ์รับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยพะเยา. มหาวิทยาลัยพะเยา. พะเยา.
ภัทราวดี มากมี และคณะ. (2565). การพัฒนากรอบแนวทางในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เน้นผลที่เกิดกับประชาชน. บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด. กรุงเทพฯ.
มาธินี คงสถิตย์. (2561). มหาวิทยาลัยราชภัฏกับการพัฒนาท้องถิ่นกรณีศึกษาเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ท้องถิ่นชนบทและท้องถิ่นชุมชนเมือง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 3, 1-10.
วิเศษ ชิณวงศ์. (2561). มหาวิทยาลัย ราชภัฏ... พัฒนา ท้าทาย อย่างไร… จึงจะไปรุ่ง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 1(2), 93-111.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม. (2565). คู่มือการประเมินการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ.
สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุนันท์ นิลพวง. (2559). แนวทางการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่องค์การแห่งการ เรียนรู้ในมุมมองของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารสมาคมนักวิจัย, 1, 122-134.
โสมฉาย บุญญานันต์ และคณะ. (2564). รายงานวิจัยแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (ฉบับปรับปรุง), (พิมพ์ครั้งที่ 1 ). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
Iamviriyawat Patarporn และKhamsaard Santhipharp. (2019). STRATEGY DEVELOPMENT FOR COMMUNITY ELEVATION TO CREATIVE TOURISM OF BANPHUNAMRON DANCHANG DISTRICT SUPHANBURI PROVINCE THAILAND. Silpakorn University,