การพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนตามแนวคิดโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชโลทร ยศวราเลิศ
จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา
อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาความสามารถความสามารถการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์โดยใช้การสอนตามแนวคิดโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การสอนตามแนวคิดโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีจับฉลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ  และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การสอนตามแนวคิดโพลยา อยู่ในระดับดี ร้อยละ 70 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การสอนตามแนวคิดโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ซางตาครู้สคอนแวนท์. (2560).หลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม วิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.

สุพัตรา ฉลาดมาก. (2560). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Charles, Randall; Lester, Frank; & O’Daffer, Phares. (1987). How to evaluate progress in problem solving. 6th ed. Virginia: National Council of Teacher of Mathematics.

Cronbach LJ. (1970). Essentials of Psychological Testing. Harper & Row.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row.

Polya, G. (1957). How to Solve It A New Aspect of Mathematical Method.

New York: Doubleday.

Rungfa Janjaruporn. (2005). The Development of a Problem-Solving Instructional Program to Develop Preservice Teachers' Competence in solving Mathematical Problems and Their Beliefs Related to Problem solving. Bangkok: Graduate School. Srinakharinwirot University.