ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารจัดการ สถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี

Main Article Content

วิชาญ เหรียญวิไลรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การสุ่มตัวอย่างจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 แห่ง โดยใช้การตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ได้ตัวอย่างจำนวน 346 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์


ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยภาพรวมทั้ง 6 ด้านของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของผู้บริหารและครูอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยภาพรวมทั้ง 5 ด้านของประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของผู้บริหารและครูอยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชันของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.ops.moe.go.th/ops2017/attachments/article/5669/Image0301200909 30.pdf

กันตพัฒน์ มณฑา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษ, กานนท์ แสนเภา, และสวิตา อ่อนลออ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 10(1), 108-119.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นํายุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทาง การศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 217-225.

ทินกร บัวชู, และทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ สารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(2), 285-294.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์.

ปทุมพร เปียถนอม. (2563). ภาวะผู้นำทางการศึกษายุคการแทนที่ด้วยสิ่งใหม่กับทิศทางการศึกษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 10(3), 115-123.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). เปลี่ยนมุมมองการบริหารองค์กรการศึกษาในโลก Disruptive. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 248-256.

วิมาลย์ ลีทอง. (2563). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร.

สมพร ปานดำ. (2563). พลิกวิกฤตสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 1-13.

สุภวัช เชาวน์เกษม, วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์, และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3(3), 85-99.

สุภัทรศักดิ์ คาสามารถ, ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี, และโกวิท จันทะปาละ. (2563). แนวทางการบริหาร การศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 245-259.

สุรพล อิสรไกรศีล. (2563). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์ "New Normal" ความปกติใหม่, ฐานวิถีชีวิตใหม่. สืบค้น 12 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.amarintv.com /news/detail/30902

Supising, J., Puthaprasert, C., Musikanon, C., Poungkaew, P., & Kosanpipat, S. (2020). COVID-19 and Disruption in Management and Education Academics. Interdisciplinary Research Review, 16(2), 19-25.