การศึกษาความต้องการในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านความต้องการในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การบริหารงาน และขนาดโรงเรียน และ(2) เพื่อนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 136 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะที่มีความต้องการสูงที่สุดคือ ทักษะการพูดภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ และทักษะที่มีความต้องการต่ำสุดคือ ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ 2) ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน พบว่ามีความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ที่มีประสบการณ์บริหารต่างกัน พบว่า มีความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 ที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน พบว่า มีความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 5) รูปแบบความต้องการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ได้แก่ การจัดอบรมระยะสั้น การจัดทำสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง และการจัดศึกษาดูงานต่างประเทศ ตามลำดับ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัลยารัตน์ เศวตนันทน์. (2554). ความต้องการศึกษาในสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล และเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมนอกหลักสูตร.คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่.
จิตสุดา ละอองผล และวรเวทย์พิสิษ ยศศิริ. (2564). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาทักษะ
ภาษาอังกฤษของผู้ประกอบการตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองจังหวัดยะลา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 31 ประจำปี 2564 (1936-1943). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ฐิตารีย์ จันทรวัทน์และสุทัศน์ เทียมกีรกุล.(2552). ความต้องการและเจตคติในการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารของนักศึกษาอาชีวศึกษาพิษณุโลก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณฐพร มูลอำคา. (2560). การศึกษาความต้องการในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นุชนรา รัตนศิระประภา. (2557). สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียน
มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ Veridian E-Journal ปีที่ 7 ฉบับที่ 3.
บุญเกิด กลมทุกสิ่ง.(2557) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน 2557 กันยายน 2557.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาร์น.
อนันต์ นามทองต้น. (2554). มองทางลัดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:
สหมิตร พริ้นติ้งแอน พับลิสซิ่ง.
Best, J.W. and Kahn, J.V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and
Bacon.
Crystal, D. (2003). English as a Global Language. (nd Ed.n.). Cambridge:
Cambridge University Press.
Dessler, G. (2000). Human Resource Management. 7th ed. Englewood Cliffs,
NJ: Prentice-Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research
activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.