การสำรวจพฤติกรรมเละแรงจูงใจการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์ COVID19 ของกลุ่ม GEN Y ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

จารุวรรณ กมลสินธุ์
จิรนันท์ กมลสินธุ์
อรวรรณ เกิดจันทร์

บทคัดย่อ

 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่ม GEN Yในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้สถานการณ์โควิด19 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ทำให้เกิดความต้องการเดินทางท่องเที่ยวของกลุ่ม GEN Yในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่มGEN Y ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ภายใต้สถานการณ์โควิด 19


วิธีการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีอายุอยู่ในช่วง 23-40 ปี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Division) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และถ้าพบความแตกต่างรายคู่ ซึ่งวิธีการทดสอบรายคู่นั้นจะใช้สูตร (LSD)


          ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่ม GEN Y ที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์พบว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 นั้น ส่วนมากเลือกเดินทางไปเขาหน่อ-เขาแก้ว ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเลือกเดินทางไปพาสาน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวคือ เพื่อพักผ่อนหรือท่องเที่ยว อีกทั้ง เลือกวิธีการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล ในส่วนรูปแบบลักษณะการเดินทางท่องเที่ยวมีจำนวนสมาชิกที่ร่วมเดินทาง 2-5 คน ทั้งนี้ ผู้ร่วมเดินทางมีลักษณะความสัมพันธ์แบบครอบครัว ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งตั้งแต่ 1,001-3,000 บาท


ผลการศึกษา การเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่ม GEN Y กับระดับแรงจูงใจของกลุ่ม GEN Y ในการเดินทางท่องเที่ยว ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ทั้ง 2 ด้าน พบว่า 1) ด้านปัจจัยภายใน (เพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพ) ที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อระดับแรงจูงใจ ด้านปัจจัยภายใน ในการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์โควิด 19 ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ (ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน) ที่แตกต่างกัน จะมีผลต่อระดับแรงจูงใจ ด้านปัจจัยภายใน ในการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์โควิด 19 แตกต่างกัน และ 2) ด้านปัจจัยภายนอก (เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน) ที่จะมีผลต่อระดับแรงจูงใจ ด้านปัจจัยภายใน ในการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์โควิด 19 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป: ทฤษฎีวิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

นิคม จารุมณี. (2535). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การปรับตัวทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวในสภาวะวิกฤตโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวธุรกิจที่ไม่มีวันตายของประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ซี.พี.บุ๊ค สแตนดาร์ด.

ปรีชา แดงโรจน์. (2544). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : บริษัทไฟว์ แอนด์ โฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.

ภารดี อนันต์นาวี. (2555). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. ชลบุรี: มนตรี.

วรรณา วงษ์วานิช. (2546).ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วนิดา เลิศพิพัฒนานนท์. (2561).รูปแบบพฤติกรรมและแรงจูงใจในการท่องเที่ยวของคนไทย

Gen Y.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานีปีที่ 12 ฉบับพิเศษ เดือนพฤษภาคม 2561.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2555). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ศรุดา กรุณามิตร. (2561). ปัจจัยและพฤติกรรมการท่องเที่ยวคนเดียวของ GENERATION Y.กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัมมา รธนิธย์. (2553). ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ. 2554.การวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: อินทนิล.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว : โควิด-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. (ปีที่ 1). กรุงเทพฯ : กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สุวัฒน์ จุธากรณ์ และจริญญา เจริญสุขใส. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (หน่วยที่ 2). นนทบุรี: ส้านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.