ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

วรรณอาภา จารุประพาฬ
ประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม
ประพิมพงศ์ วัฒนะรัตน์
ศิรธันย์ ชัยธรธนาวัฒน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรวมโดยใช้โปรแกรมช่วยเหลือด้านการอ่านด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ1) ศึกษาปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา 3 )ศึกษาแนวทางการแก้ไขข้อจำกัดในการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ในครั้งนี้จำนวน 273 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 23 คน ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 179 คน และครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับประถมศึกษา จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม (Focus group) สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1)ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา ได้แก่ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม และในภาพรวมสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก 2)ปัจจัยอุปสรรคการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ระดับของตำแหน่ง ระดับการศึกษา และความรู้พื้นฐานทางการศึกษาพิเศษ ได้แก่ ด้านนักเรียน ด้านวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ และด้านเทคนิคที่นำมาใช้ในการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน 3)แนวทางการแก้ไขข้อจำกัดการจัดการเรียนรวมด้วยกระบวนการตอบสนองต่อการช่วยเหลือด้านความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษา ได้แก่ด้านนักเรียน ควรส่งเสริมนักเรียนทั่วไปให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีความ ต้องการพิเศษ โดยต้องเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านอารมณ์ สังคม แก่เด็กทั้งสองกลุ่ม และเสริมทักษะทางวิชาการตามศักยภาพ ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ มีการประเมินตามสภาพจริง ด้านการเรียนการสอน จัดกิจกรรมการเรียน การสอนให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มได้ทำกิจกรรมร่วมกันให้มากที่สุดโดยใช้เทคนิค วิธีการ และสื่อการสอนที่หลากหลาย

Article Details

บท
Research Articles

References

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2555). การบริหารจัดการการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการ

พิเศษ ในประมวลสาระชุดวิชาการบริหารจัดการสถานศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 6

หน้า 6-2 ถึง 6-71.นนทบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การศึกษาสำหรับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊ค.

คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ, สำนักงาน. (2550). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550-2554. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ,สำนักงาน. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564 (ร่าง). กรุงเทพฯ:

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2560).หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุจิตรพร สีฝั้น. (2550). การพัฒนาแบบการให้บริการในระยะเชื่อมต่อเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษคณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุเมธ งามกนก. (2550). การสร้างทีมงาน. วารสารศึกษาศาสตร์, 19 (1), ตุลาคม 2550-มกราคม 2551, หน้า 31-34.

สุวิมล อุดมพิริยะศักย์. (2553).เอกสารประกอบการสอนวิชา สัมมนาการศึกษาแบบเรียนรวม. กรุงเทพฯ: หลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผดุง อารยะวิญญู. (2544). เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

. (2542). คู่มือช่วยเหลือเด็กบกพร่องด้านการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ผดุง อารยะวิญญู. (2546). วิธีสอนเด็กเรียนยาก. กรุงเทพฯ: แว่นแก้ว.

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2552). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการจัดการศึกษาสำหรับเด็ก

ที่มีความต้องการพิเศษ. หลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

พิเศษ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ระวีวรรณ คำสม. (2542). ผลของการฝึกพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมโดยใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อการปฏิบัติตนกับเพื่อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา จังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชาการ, กรม. (2544). การบูรณาการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.

Allen, K.E., & Schwartz, I.S. (2001). The Exceptional Child: Inclusion in Early Childhood

Education.5th ed. Albany. NY: Delmar.

American Academy of Pediatrics: Council on Children with Disabilities. (2006). Identifying Infants and Young Children with Developmental Disorders in the Medical Home: an Algorithm for Developmental Surveillance and Screening. Pediatrics, 118 (1), July 2006, pp. 405-420.

Biwako Millennium Framework for Action: Towards an Inclusive, Barrier-free and Rights-based Society for Persons with Disabilities in Asia and the Pacific. (2003). [Online]. Available: http://www8.cao.go.jp/shougai/english/biwako/contents.html [2010, June 10].

California Department of Education. (2000). Handbook on Assessment and Evaluation in Early Childhood Special Education Programs. Sacramento: California Department of Education.

.(2001). Handbook on Developing and Implementing Programs and Services. Sacramento: California Department of Education.

.(2005). Handbook on Transition from Early Childhood Special Education Programs. Sacramento: California Department of Education.

Campton, D.L. (2008). RTI: A Practitioner ‘s Guide to Implementing Response to Intervention., Thousand Oaks, CA: Corwin.