สภาพความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1

Main Article Content

พรศิริ บุรีมาตร์
ศุภกร ศรเพชร
จารุวรรณ เขียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

           การพัฒนาแนวทางทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครู จะส่งผลให้ครูมีทักษะการสร้างสื่อที่ทันสมัย เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพที่ดี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครู (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครู (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู จำนวน 288 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 4 ฉบับ


           ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครูโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครู พบว่า ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ ทักษะการประเมินผลการเรียนจากการใช้สื่อการเรียนการสอน ทักษะการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียนที่สัมพันธ์กับเป้าหมายที่กำหนด ทักษะการเลือกใช้สื่อการสอนที่มีอยู่แล้ว ทักษะการประเมินประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอน ทักษะการวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาและความจำเป็นในการใช้สื่อและทักษะการวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน (3) แนวทางพัฒนาทักษะการสร้างสื่อในยุคดิจิทัลของครู พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กชพร ดีการกล. (2558). “พฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดการเรียนรู้แบบนา

ตนเองของบุคลากร ทางการศึกษา.”วารสารวิชาการVeridian E-Journal, Slipakorn

University ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2

: 1-14.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่

และที่ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์

ซินดิเค จำกัด.

กฤษกนก วรรณวีระ และสุรพล บุญลือ. (2558). “การสร้างชุมชนนักปฏิบัติการบนเครือข่าย

สังคมเพื่อการเรียนรู้ การผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ของ โรงเรียนสุรศักดิ์

มนตรี.” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ - เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย

ครั้งที่ 29. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตาราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ

นครเหนือ, (20-27).

กิตติ เสือแพร และมีชัย โลหะการ. (2558). “การเปรียบเทียบผลของวิธีสอนด้วยเครือข่าย

สังคมออนไลน์กับวิธีการสอนปกติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการ

ประมวลผลภาพดิจิตอลสำหรับนักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า.” ใน การประชุม

วิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, (253-258).

กุลธวัช สมารักษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคม

ออนไลน์ โดยใช้กรณีศึกษาด้วยวิดีโอแชร์ริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมี

วิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี

เทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

แก้วตา เจือนาค. (2560). การออกแบบการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21. ใน เอกสารประชุม

วิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมวันที่ 28 - 29 กันยายน 2560.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2563).การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

หนังสือชุดการบูรณาการ ICT สู่การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนยุคใหม่. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). Desktop publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียน

ยุคดิจิทัล. หนังสือชุดการบูรณาการ ICT สู่การเรียนรู้ สำหรับผู้เรียนยุคใหม่. กรุงเทพฯ

: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ ประกอบ กรณีกิจ. (2560). Pedagogy-based Hybrid Learning: จาก

แนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารครุศาสตร์ ปีที่ 38ฉบับที่ 1 (กรกฎาคม-ตุลาคม 2552).

หน้า 93-108.

Anderson L.K.(2010). A Taxonomy of Learning, Teaching and Assessment: a

Revision of

Bloom’s Taxonomy of Educational Objective.New York, Longman.

Cai, H. (2013). Using augmented reality games as motivators for youth

environmental education: An American Hart's tongue fern conservation

project. Ph.D. Dissertation, Department of Environmental & Forest Biology,

State University of New York College of Environmental Science and Fore