การพัฒนารูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

นิธิวัฒน์ อินทสิทธิ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศแบบชี้แนะและการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR และพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยแบ่งการวิจัยเป็น 5 ระยะ  กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1). ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการนิเทศแบบชี้แนะและการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า มี 2 องค์ประกอบหลัก 10 องค์ประกอบย่อย และ 89 ตัวชี้วัด  2). การสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้กระบวนการของเทคนิคเดลฟาย พบว่า มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู (2) การนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR 3). ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครูฯ พบว่า 1) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ก่อนและหลังทดลองใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศชี้แนะแบบ PCOSR เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนการเกษตรแห่งประเทศไทย.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2559). “การชี้แนะ : การประยุกต์ใช้เพื่อการนิเทศการศึกษา Coaching: An Application for Educational Supervision,” วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 9(2). (ก.ค. - ธ.ค.): 1-13.

แจ่มนภา ล้ำจุมจัง. (2559). แนวทางการดำเนินงานนิเทศภายในแบบชี้แนะสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนา ธุศรีสุวรรณ. (2562). การพัฒนารูปแบบการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทกา วารินิน. (2557). การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุศรินทร์ ใจวังโลก. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้สำหรับครู. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่องสาระความรู้สมรรถนะและประสบการณ์ วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ตามข้อบังคับ คุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 156 ง 12 พฤษจิกายน 2556 หน้า 43-54.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). “การวิจัยพัฒนารูปแบบ” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(4):1-15.

สามารถ สว่างแจ้ง. (2562). รูปแบบการพัฒนาสมรรถการอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แผนกวิชาช่างอุตสาหกรรมของวิทยาลัยเทคนิค. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การเสริมสร้างประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Gornall, S. and Burn, M. (2013). Coaching and learning in schools: A practical guide. Thousand Oaks, Calif.: SAGE Publication.