การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

อุไร เกตกูล
อุดมเดช ทาระหอม
นเรศ ขันธะรี

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 150 คน และครู จำนวน 150 คน  ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ Krejcie และ Moegan เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98  สถิติ ที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า1. สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยรวมไม่แตกต่างกัน  3. แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนในยุคดิจิทัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร พบดังนี้ 1) ด้านบริการและสวัสดิการ ควรจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมแนะแนว จัดให้มีอาหารกลางวันในโรงเรียน ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพนักเรียน มีการประเมินผล และรายงานผล 2) ด้านการควบคุม ควรยึดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการในการรับสมัครนักเรียน สร้างความตระหนักในการยอมรับกฎ ระเบียบของสถานศึกษา มีการลงโทษตามข้อกำหนดเมื่อทำผิด และหาวิธีการแก้ไข โดยการร่วมมือระหว่างผู้บริหาร ครูฝ่ายปกครอง กับตัวแทนนักเรียน หรือผู้ปกครอง รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา 3) ด้านกิจกรรมร่วมหลักสูตร  ควรให้นักเรียนมีบทบาทในกิจกรรมโรงเรียน เช่น สภานักเรียนเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย มีการสำรวจความต้องการของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมชมรมหรือกิจกรรมต่างๆ 4) ด้านการบริการงานวิชาการ มีการปฐมนิเทศก่อน จัดเอกสารคู่มือนักเรียนและผู้ปกครอง จัดให้มีการเรียนการสอนซ่อมเสริมนักเรียน

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กฎกระทรวง. แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาพ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2559.

กวินญาดา ชัยเดช. 2560.การบริหารกิจการนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี,

กาญจณา กันธะนภี. การศึกษาสภาพการดำเนินงานกิจการนักเรียน โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตอิงโขง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา, 2561.

กาญจนา ศรีกาฬสินธุ์. การบริหารกิจการนักเรียน เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.2563.

กานดา อมรเพชรกุล. การพัฒนาบริหารงานปกครองนักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562.

กิติมา ปรีดีดิลก. การบริหารและนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์. 2562.

เกษม ดวงงาม. การบริหารงานปกครองนักเรียนหลากหลายชนเผ่าในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่จัน จังหวัดเชียงราย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2562.

ใจจริง บุญเรืองรอด. การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2563.

ดำรง ประเสริฐกุล. การบริหารกิจการนักเรียน. พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2562.

ทรรศนีย์ แก้วขันทร์. การศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 11. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2561.

ธนาภา ชมภูธัญ. การบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่จะเราสองแคว สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา. 2561.

ภัทรวดี แตรสังข์. การนำเสนอแนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2561.

ภิญญา รัตนารชาติ. การบริหารกิจการนักเรียนตามการรับรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา อำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562.

ภิญโญ สาธร. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศ.ส.การพิมพ์. 2563.

วราภรณ์ บุญดอก. การบริหารงานกิจการนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพของ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2561.

วิชัย ธรรมชาติ. การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ บริเวณพื้นชายฝั่งทะเลตะวันออกออก. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2562.

ศิริวรรณ ยวดยิ่ง. (2533). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนสาธิตระดับมัธยมศึกษา สังกัคกระทรวงอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานศร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2563.

สมพร โพธิ์กำเนิด. การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานกิจการนักเรียนนักศึกษา ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 2562.