กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

ชุติกาญจน์ อ่าวสาคร
อัญชนา พานิช

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน 2) กลยุทธ์การพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน 3) ผลการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์  จำนวน 228 คน ประกอบด้วยครู จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้น ป. 6 จำนวน 6 ห้อง รวม 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน 2) คู่มือการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน และ 3) แบบประเมินความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน ใช้กลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การมีส่วนร่วม กลยุทธ์การทำงานเป็นทีม กลยุทธ์การสื่อสาร และกลยุทธ์การบูรณาการ 2. กลยุทธ์การพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน คือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยใช้เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น บูรณาการงานประดิษฐ์ 3. ผลการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน หลังการเรียนรู้ โดยภาพรวมพบว่านักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในขั้นพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 48.42 ระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 36.20 ระดับที่ต้องปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 15.38 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 221 คน

Article Details

บท
Research Articles

References

กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ. (2551). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ :

อัลฟ่ามิเล็นเนียม.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกลุ. (2542). ชุดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการจัดค่ายคณิตศาสตร์.

กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุป แมเนจเม้นท์

ธีรพงษ์ จันเปรียง, เจนวิทย์ วารีบ่อ และ อติราช เกิดทอง. (2564). การพัฒนาทักษะความคิด

สร้างสรรค์และนวัตกรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) และการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้นตอน. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

เพทาย แสงกระจ่าง. (2555). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้

แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ไพโรจน์ บาลัน. (2551). ทักษะการบริหารทีม. กรุงเทพฯ : แอคทีฟพรินท์ จำกัด.

ศรีสุรางค์ ทีนะกุล. (2542). การคิดและการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ: เธร์ดเวฟ เอดดูเคชั่น

สุภาพร สะอาดนัก. (2560). กลยุทธ์การขับเคลื่อนและการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียน

โรงเรียนบ้านหนองปืนแตก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2555). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่เข้า

ร่วมโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ซุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทยจำกัด

อาภรณ์ คงคง. (2551). กลยุทธ์การสื่อสารของคณะทำงานอนุรักษ์พลังงานเพื่อสร้างการมี

ส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์พลังงาน บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). นนทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.