การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนแก่งกระจานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเพชรบุรี

Main Article Content

พรรณนิกา บุญชูเชิด
อัญชนา พานิช
กาญจนา บุญส่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่งกระจานวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่งกระจานวิทยา มี 6 ขั้นตอน เรียกว่า PCILEI ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวางแผน (P=Planning) ขั้นที่ 2 การติดต่อประสานงาน (C=Coordinate) ขั้นที่ 3 การจัดการเรียนรู้ (I=Instructional) ขั้นที่ 4 การเชื่อมโยงความรู้สู่สากล (L=linked to global) ขั้นที่ 5 การตรวจสอบ ติดตามและการวัดการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (E=Evaluation) และขั้นที่ 6 การปรับปรุงและพัฒนา (I=Improve development) 2. ผลการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่งกระจานวิทยา ภายหลังการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีทักษะกระบวนการทางด้านการแก้ปัญหาโดยภาพรวมมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 29.44 ทักษะกระบวนการทางด้านการให้เหตุผลโดยภาพรวม มีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 27.36 และทักษะกระบวนการทางด้านการเชื่อมโยงโดยภาพรวมมีค่าความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 28.19

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน

:กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). การจัดการความรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2554). โครงงานคณิตศาสตร์ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์. หน่วยที่ 13 : 1 - 69 นนทบุรีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

หทัยกาญจน์ สำรวลหันต์. (2549). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้บูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้ เรื่อง ถลกบาตร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัครวุฒิ บุญเติม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อสร้างเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และความภาคภูมิใจในท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ค้นข้อมูล 25 สิงหาคม 2565,จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=150966