ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา

Main Article Content

ทัศนีย์ สาแก้ว ปิ่นสวัสดิ์

บทคัดย่อ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy Philosophy (SEP) เป็นกระบวนทัศน์ในการพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic) มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนามนุษย์สู่ความยั่งยืน มุ่งเน้นวิถีชีวิตที่สมดุลบนหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ความพอประมาณ (2)  ความมีเหตุผล  และ (3) มีภูมิคุ้มกันตนเอง เพื่อนำมาประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ การอาศัยความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆอย่างรอบด้าน อาศัยความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันประกอบการวางแผนและระมัดระวังในการนำแผนไปใช้ในการปฏิบัติ รวมถึงเงื่อนไขอีกประการหนึ่ง คือ คุณธรรมที่ต้องเสริมสร้างประกอบด้วยการตระหนักในคุณธรรม การมีความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน มีความเพียรและใช้สติปัญญาและรอบคอบในการดำเนินชีวิต (Bergsteiner & Dharmapiya , 2016)


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยและวิถีชีวิตทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค (Anurat Anantanatorn ,2017) รวมทั้งเป็นแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับนับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาระดับโครงสร้างจากความไม่สมดุล การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ในการพัฒนา จะทำให้เกิดวิถีของการพัฒนา(Develop Path) และผลของการพัฒนา (Develop Goal) ที่สมดุล ความพอเพียงจึงเป็นทั้งวิธีการ (Means) ที่คำนึงถึงความความสมดุล ความพอประมาณ และการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อนำไปสู่ผลของการกระทำ (Ends) ที่ก่อให้เกิดผลของการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านที่คำนึงความยั่งยืนของทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนทางสิ่งแวดล้อม และทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม


 


 

Article Details

บท
Articles

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ .(2560 ). การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ .สำนักกรรมาธิการ 1 สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

คณะอนุกรรมการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท .(2558).คู่มือการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคการเกษตรและชนบท และด้านความมั่นคง .กรุงเทพฯ

คณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.(2560 ). การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชาเพื่อการปฏิรูปประเทศ .สำนักกรรมาธิการ 1 สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต .( 2551). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:การตีความเชิงวิพากษ์ว่าด้วยมิติทางวัฒนธรรมจากมุมมองหลังสมัยใหม่ . ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ และคณะ.(2552). วิเคราะห์นโยบายมหภาคมิติต่างๆจากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (2540-2549 ) เล่ม 2. สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ปรเมธี วิมลศิริ .(2559).หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน.นนทบุรี:สถาบันพระปกเกล้า

ประสพโชค มิ่งสวัสดิ์ . ( 2551 ).ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจ.ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ปรียานุช ธรรมปรียา.(2560). รายงานสืบเนื่องการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง พัฒนบริหารศาสตร์กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน.ศูนย์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ณัฐพงศ์ ทองภักดี .(2558).ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐศาสตร์และการบริหารการพัฒนา.คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .กรุงเทพ: ดี พี เอ็ม อาร์ทแอนด์ปริ้น จำกัด

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่แปด พ.ศ. 2535-2539. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

__________________________.( 2545 ). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่เก้า พ.ศ. 2540-2549. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

__________________________ .(2555). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ .(2546).กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เสาวณิต จุลวงศ์. ( 2562 ). ทุนนิยมวิพากษ์ในวรรณกรรมไทย . วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ : 14 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า : 9-52

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง .( 2551 ). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา .สำนักพิมพ์ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง .สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

_________________. (2017). The Philosophy of Sufficiency Economy in Thailand: An Innovative Approach for Development Poor Countries. Politics Administration and Law, 9(special issue), 297-323.

Bergsteiner, H. and Dharmapiya, P. (2016). “The Sufficiency Economy Philosophy Process.” In Avery, G.C. & Bergsteiner, H. (Eds). Sufficiency Thinking: Thailand’s Gift to an Unsustainable World (pp. 32-53). Sydney: Allen & Unwin

Grossman & Founder .(2011). King Bhumipol Adulyadej , A life , s Work : Thailand Monarchy in Perpective .Singapore : Editions Didier Miliiet.

John Nirenberg .(2017).Organizational Implications of Thailand’s Sufficiency Economy Principles (SEP) and Buddhist Economics .University of Malaya

Kornkanok Sarapirom1 and Hiren Sarka .(2018). Study of sufficiency economy philosophy and its impact on individuals, communities and organizations. Journal of Thai Interdisciplinary Research.Volume 13 ,Number 1,99.pp.8-12

Piketty .T . (2014) . Capital in the Twenty – First Century . Massachusetts : The Belknap Press of Harvard University Press

Prasopchoke Mongsawad .(2010). The Philosophy of The sufficiency Economy : Contribution to The Theory of Development .Asia-Pacific Development Journal Vol. 17, No. 1, June 2010 , 123-14

The Office of the National Economic and Social Development Board. (2005). Questions about the Philosophy of Sufficiency Economy. Bangkok: The Office of the National Economic and Social Development Board

Ubonsri & Pannun .(2013). A Study of Applying Sufficiency Economy to Lifestyles and use of Resources at Community Levels. Procardia Environmental Sciences, 17, pp.976-983.

Yves Cabannes & Boaventura de Sousa Santos .( 2010 ). The Sufficiency Economy Philosophy in Non Sila Leng village , northeastern Thailand. United Cities and Local Governments (UCLG)