ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

รสา หว่างจิตร
กาญจนา บุญส่ง
นิภา เพชรสม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของภาวะผู้ทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2) ระดับของการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 274 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.986 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ระดับของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ คือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยี (X6) ด้านการพัฒนาหลักสูตรที่บูรณาการทักษะชีวิตและสังคมสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล (X2) ด้านการมีวิสัยทัศน์ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (X1) ด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X3) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร (X5) และด้านการสร้างเครือข่ายดิจิทัลเพื่อความร่วมมือทางวิชาการ (X4) ตามลำดับ

  2. ระดับของผลการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ คือ ด้านการให้คำปรึกษา แนะนำ สร้างขวัญและกำลังใจ (Y4) ด้านการประเมินผลและการรายงานผล (Y5) ด้านการปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา (Y3) ด้านการวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา (Y2) และด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ (Y1) ตามลำดับ

  3. ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 คือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณการใช้เทคโนโลยี (X6) ด้านการพัฒนาหลักสูตรที่บูรณาการทักษะชีวิตและสังคมสำหรับผู้เรียนในยุคดิจิทัล (X2) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหาร (X5) และด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (X3) มีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 59.30 และสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน คือ Y" =   .368X6 + .222X2 + .195X5 + .164X3

      

Article Details

บท
Research Articles

References

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ศรันย์ภัทร์ อินทรรักษทรัพย์. (2558). แนวทางพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียน

ประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

กำแพงเพชร เขต 1. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน). (2560). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ

ประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พลิกโฉมการเรียนรู้ก้าวสู่

ยุคดิจิทัลกระทรวงศึกษาธิการ 128 ปี. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเซ็นจูรี่.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.