ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

Main Article Content

กมลรัตน์ ทองสว่าง
ธนาวิทย์ กางการ
ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดชัยภูมิ: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนธรรม (สวนปฏิบัติธรรม ธ ไทสันติธรรม) บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดชัยภูมิ: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนธรรม (สวนปฏิบัติธรรม ธ. ไทสันติธรรม) บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดชัยภูมิ: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนธรรม (สวนปฏิบัติธรรม ธ ไทสันติธรรม) บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดชัยภูมิ: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนธรรม (สวนปฏิบัติธรรม ธ. ไทสันติธรรม) บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ในการศึกษา ชุมชนบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ประชากร ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงานองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พระสงฆ์ ครู ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประธานหรือตัวแทนกลุ่มต่างๆ และชาวบ้าน จำนวน 11,832 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการและการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชัยภูมิ: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนธรรม (สวนปฏิบัติธรรม ธ. ไทสันติธรรม) บ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ แบบบันทึกข้อมูล แบบการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรและปศุสัตว์ และมีการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสนใจที่จะเรียนรู้แสวงหาความรู้ใหม่เสมอ มีระดับความต้องการในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่พัฒนาขึ้น คือ “CIPTHE Model” มี 6 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ Community (ชุมชน) Identity (อัตลักษณ์) Participation (การมีส่วนร่วม) Technology (เทคโนโลยี) Human wisdom (เป้าหมายแห่งมนุษย์) และ Economy (เศรษฐกิจ) 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชัยภูมิ ผลการทดลอง พบว่ารูปแบบการพัฒนาจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับภูมิปัญญาเป็นความรู้ดั้งเดิมอันประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน ไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วน ๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กับการทำมาหาเลี้ยงชีพ และ 4) และการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดชัยภูมิ พบว่าภาพรวมอยู่ระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: โรง

พิมพ์คุรุสภา.

เกรียงศักด์ิ เจริญวงค์ศักด์ิ. (2544). ชุมชนนิยม: ฝ่าวิกฤติชุมชนล่มสลาย. กรุงเทพฯ: ซัสเซส

มีเดีย.

คณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ, สำนักงาน. (2550). การประชุมทางวิชาการระดับชาติ เรื่อง

เจาะประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้จากงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ส่วนวิเคราะห์

และสังเคราะห์ ผลงานวิจัย.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2555-2559). แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

เนติรัฐ วีระนาคินทร์. (2557). การพัฒนาโมเดลศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรตามหลัก

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออนไลน์ สำหรับยุวเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตอนบน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ, 8(2), 113-123.

วราภรณ์ ปริสุทธ์ิวานิชย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน กรณีศึกษาองค์กรบริหารส่วนตำบลหนองบัว กับโรงเรียน

บ้านหนองไผ่ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. Research and Development

Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10(2), 142-156.

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต วรรณวีร์ บุญคุ้ม และนรินทร์ สังข์รักษา. (2560). การพัฒนารูปแบบการ

จัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.

Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์

สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 1657-1674.

Ishumi, A. G. M. (1982). Community centers in Tanzania: Their development

and scope UNESCO institute for education. USA: UNESCO

Watts, J. (1990). Community education in the western world. London:

Education Development Center.