การศึกษาสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิเป้าหมายสูงสุดของการวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การได้มาซึ่งนวัตกรรมแนวคิดในลักษณะพัฒนารูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ ในจังหวัดชัยภูมิ ดังนั้นจึงกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ในการทำวิจัย คือ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิที่ใช้ในการวิจัยจำนวนประชากรทั้งหมด 184,431 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 400 คน ผลที่พบดังนี้ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพทั่วไป การดำเนินงานกระบวนการสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้นำชุมชนและปราชญ์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ที่ได้สร้างขึ้น และการสนทนากลุ่ม สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ พบว่ามีการดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะของชุมชนบ้านนาฝาย มีการดำเนินชีวิตแบบวิถีพุทธ แต่ไม่ได้มีการนำมาบูรณาการกับการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม จึงได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ตอบสนองต่อความต้องการในการจัดการกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ กระบวนการจัดการกลุ่ม โดยใช้พื้นที่ ABC-6D เป็นฐานพบว่าการมีส่วนร่วมพัฒนากระบวนการจัดการสร้างกลุ่มผู้นำและกลุ่มเครือข่ายเสริมสร้างทางสังคมชนบทอยู่ในระดับกลาง การมีส่วนร่วมพัฒนากระบวนการการศึกษาสุขภาวะแบบองค์รวมตามแนววิถีพุทธในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ การมีส่วนร่วมกระบวนการจัดการกลุ่ม เพื่อสร้างสังคมอยู่ดีมีสุขโดยใช้พื้นที่ ABC-6D เป็นฐานพบว่ามีส่วนร่วมในการร่วมคิดอยู่ในระดับปานกลาง ศูนย์เรียนรู้ส่งเสริมสร้างพัฒนากลุ่มของชุมชน การมีส่วนร่วมศูนย์เรียนรู้ส่งเสริมสร้างพัฒนากลุ่มของชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่าสถานที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้น รูปแบบกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม ควรมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนมีความรู้ และความเข้าใจความต้องการ หรือสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชนให้การสนับสนุน องค์การและหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน มีการสนับสนุนจากภาคเอกชน ตามแนวคิดสุขภาวะองค์รวม
Article Details
References
ณชพงศ จันจุฬา. (2562). การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะชุมชน : จากงานวิจัยสู่
การใช้ประโยชน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 1-11.
ประคองธรรม จันทร์ขาว และคณะ. (2560). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างสุขภาวะ
ชุมชนแบบองค์รวมของชุมชนในเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
บ้านบ่อทราย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารสังคมและวัฒนธรรม, 1(1),
พระครูภาวนาสังวรกิจ วิ. (สุวิทย์ คำมูล). (2562). การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำรับผู้สูงวัย
ตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3414-3423.
พระมหาอำคา วรปัญโญ (สุขแดง) และยุภาพร ยุภาศ. (2564). การส่งเสริมสุขภาวะวิถีพุทธ
ในความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2): 455-469.
สานุ มหัทธนาดุลย์ และสริตา มหัทธนาดุลย์. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมเพื่อวิถี
ชีวิตที่สมดุลตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3): 1161-
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Education and Psychological Measuremen 30 (1970): 607-
McEvoy, L., & Duffy, A. (2008). Holistic practice – A concept analysis. Nurse London: Flamingo An Imprint of Harper Collins.
World Health Organization. (1986, November). First Ottawa Charter for Health Promotion. The first International Conference on Health Promotion, meeting in Ottawa this 21st day of November 1986.