ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง
กมลรัตน์ ทองสว่าง
พนารัตน์ เดชกุลทอง

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในความปกติใหม่ของชุมชนจังหวัดชัยภูมิ การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขต ABC-6D ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอภักดีชุมพล อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอคอนสาร จำนวน 259,801 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวนเท่ากับ 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) มี 3 ส่วน หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.92 และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย WHOQOL-BREF (Thai-version)  จำนวน 26 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน สมการถดถอยแบบพหุคูณ และคัดเลือกตัวแปรเข้าสมการแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า: 1) พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (X̅=4.27)  และ 2) ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขต ABC-6D จังหวัดชัยภูมิ มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ย 94.44 คะแนน เมื่อเทียบกับเกณฑ์คะแนนคุณภาพชีวิตแล้ว พบว่า คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ พบว่า ตัวแปรอายุ เพศ และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = .000) ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถอธิบายการผันแปรของคุณภาพชีวิตในความปกติใหม่ของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ ได้ร้อยละ 0.43 (R2 = .043) สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ดังต่อไปนี้


                         Y = 2.825 + .030X1 + -.035X2 + -.125X3


ข้อเสนอแนะ ชุมชนในจังหวัดชัยภูมิควรได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิให้อยู่ในระดับสูงขึ้น โดยการส่งเสริมพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยเฉพาะการสร้างเสริมสุขภาวะด้านเศรษฐกิจและด้านการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ

Article Details

บท
Research Articles

References

พีระพงษ์ ทศวัฒน์ และปิยะกมล มหิวรรณ. (2020). การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของ

ประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID - 19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(9): 40-55.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2563). สู้ภัยโควิด19 เปลี่ยนวิกฤตเป็น ความ

ยั่งยืนของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ภาวะสังคมไทย.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it? Slone Management

Review, 15(1), 12-18