สารัตถะของศิลปะการแสดงโขน

Main Article Content

ญาฐณา ภควัตธนโกศล
สุภาวี ศิรินคราภรณ์

บทคัดย่อ

โขนถือเป็นงานศิลปะการแสดงที่มีจารีตและเป็นแบบแผนที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน อีกทั้งยังมีหน้าที่เป็นเครื่องแสดงความเข้มขลังในหลายพิธีกรรมที่สำคัญ ทำให้การแสดงโขนถูกกำกับบทบาทไว้มากกว่าการแสดงทั่วไป แต่ในปัจจุบันการแสดงโขนถูกปรับเปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อให้สาระสำคัญของการแสดงโขนมีความสอดคล้องกับปริบททางสังคมต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอันส่งผลต่อการแสดงโขนมี 2 ประการ คือ โขนถูกลดบทบาทและความสำคัญลง แต่ในขณะเดียวกันกลับสร้างอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านรูปแบบ อย่างไรก็ตามเป้าหมายของการแสดงโขนทุกรูปแบบล้วนมุ่งเน้นการอนุรักษ์สืบสานโดยทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่าไม่มีจารีตแห่งการแสดงโขนในรูปแบบใดที่ไม่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้วเห็นว่าโขนทุกรูปแบบมีคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมอันประมาณมิได้ เพราะสาระสำคัญของการแสดงโขน คือ การรวบรวมภูมิปัญญา รวมไปถึงความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ที่แสดงออกถึงการบูรณาการศาสตร์ต่างสาขา ขั้นตอนการกลั่นกรองความคิดสร้างสรรค์ และวิธีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างความสอดคล้องต่อสภาพการณ์ของสังคมและวัฒนธรรมทั้งหมดจึงถือเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติที่น่าภาคภูมิใจ ดังนั้น การสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ส่งผลต่อกระบวนทัศน์ของภูมิปัญญาของโขนในลักษณะของความร่วมสมัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้พิจารณาจำแนกเนื้อหาโดยใช้กรอบการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดเป็นประเด็นต่าง ๆ ต่อแนวทางการสร้างสรรค์ ซึ่งระบุออกเป็น 3 สาระสำคัญ ได้แก่ สารัตถะแห่งความเป็นปัจเจก สารัตถะด้านสังคมกับวัฒนธรรม และสารัตถะเหนือสภาวะผัสสะ

Article Details

บท
Articles

References

กรมศิลปากร. (2552). โขน. พิมพ์ในงานพระราชทางเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เฉลิมเขตรมง ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส.

คำรณ สุนทรานนท์ . (2551). การอนุรักษ์และสืบทอดโขน [ผู้หญิง] ให้แก่เยาวชน. กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จรรมนง แสงวิเชียร (บรรณาธิการ). (2549). โขน : ศาลาเฉลิมกรุง. กรุงเทพฯ : สำนักงานทรัพย์สิน

ส่วนพระมหากษัตริย์.

จุฬาลักษณ์ เอกวัฒนพันธ์, เลิศศิริร์ บวรกิตติ และสุชาติ เถา ทอง. (2553). การจัดการแสดงโขน: กรณีโรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง. วารสารศิลปกรรม บูรพา, 13 (1), 227-242.

ทศพร บุญวัชราภัย, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์, & ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์. (2559). ความคิด

สร้างสรรค์ขององค์กรเพื่อสร้างนวัตกรรมบริการในโรงแรมบูติกไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9 (2), 131-145.

นงค์นุช ไพรพิบูลยกิจ.(2541). เรือนไทย.กรุงเทพมหานคร: เอส.ที.พี. เวิลด์ มีเดีย

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2561). โขนวิทยา: ศาสตร์ ศิลป์ ถิ่นสยาม.วารสารวิชาการ นวัตกรรมสื่อสาร

สังคม, 6(2)/123-141.

พีรเทพ รุ่งคุณากร. (2562). “ภูมิปัญญา.” ใน เอกสารประกอบการสอนวิชาการศึกษาตาม

อัธยาศัย.(อัดสำเนา). นครปฐม: ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2549). แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง, กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์.(2534). รามเกียรติ์ในศิลปะและวัฒนธรรมไทย.กรุงเทพฯ: สำนักงาน

คณะกรรมการ วัฒนธรรม.

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, สำนัก. (2555). สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระผู้พลิกฟื้นนาฏศิลป์แห่ง สยาม. วารสารไทยคู่ฟ้า, ฉบับพิเศษ (กรกฎาคม-ธันวาคม): หน้า 3-5.

สุรัตน์ จงดา. ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, ผู้ช่วยอำนวยการแสดงโขนพระราชทาน . (2 ธันวาคม 2562). สัมภาษณ์

เสรี พงศ์พิศ. (2547). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่มที่ 1-2. กรุงเทพฯ: บริษัท

อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด.

เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, มูลนิธิ. (2557). โขนเฉลิมพระเกียรติ ศึกกุมภกรรณ ตอน โมกขศักดิ์. วารสารทิศไท ปีที่ 5,ฉบับที่ 15 (มกราคม-มีนาคม): หน้า 79-81.

Saihoo, P. (2019). Naeokhit nai kansueksa sangkhom lae watthanatham thai nai

ekkasan kanson chut wicha thai sueksa nuai thi 1-7 (In Thai) [Concepts in studying Thai society and culture in Thai studies unit 1-7]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press.