ความสำคัญของความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียน ของนิสิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนิสิตวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีประชากร คือ อาจารย์ที่สอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 509 คน และผู้ให้ข้อมูลในงานวิจัยนี้ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) เป็นผู้ที่รับผิดชอบสอนในรายวิชาชีพครูไม่น้อยกว่า 10 ปี 2) เป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนานิสิตวิชาชีพครูไม่น้อยกว่า 10 ปี ซึ่งได้มาจากการเลือกเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับความสำคัญของความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนของนิสิตวิชาชีพครู ซึ่งมีข้อคำถามปลายเปิด 8 ข้อ มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามและวัตถุประสงค์ระหว่าง 0.66 – 1.00 และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า จากการวิเคราะห์เนื้อหาของอาจารย์ผู้สอนทั้ง 5 ท่าน มีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ โดยแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ กลุ่มที่หนึ่ง คือ ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความสนใจในวิชาชีพครู การรู้จักตนเอง การมีเป้าหมายที่ชัดเจน และกลุ่มที่สอง คือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ครอบครัว มีผู้ปกครองประกอบอาชีพครู ส่งผลให้ลูกเข้าใจงานอาชีพครูตลอดจนรักในวิชาชีพครู โดยมีผู้ปกครองเป็นต้นแบบที่ดี และสภาพแวดล้อมทางสังคมต่าง ๆ ได้แก่ ความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งจัดว่าเป็นอาชีพหนึ่งใน
การเป็นข้าราชการที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับในสังคมในปัจจุบัน
ความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากกับนิสิตวิชาชีพครู เพราะช่วยให้มีความอดทน ความมีวินัย สู้ไม่ถอย แม้ต้องเจออุปสรรคระหว่างเรียน โดยเฉพาะนิสิตวิชาชีพครูที่มีเป้าหมายชัดเจนจะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพราะตระหนักถึงความสำคัญที่เกิดจากปัจจัยภายในตัวนิสิตที่เห็นถึงความสำคัญด้วยตัวเอง หรือได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกจากอาจารย์ผู้สอนทำให้เห็นความสำคัญในการตั้งใจเรียนในรายวิชาชีพครู นอกเหนือจากนี้เมื่อนิสิตวิชาชีพครูไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูหรือจบการศึกษาไปประกอบอาชีพครูแล้ว ยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนได้ด้วย
แนวทางการส่งเสริมความมุ่งมั่นและพลังขับเคลื่อนทางการเรียนให้กับนิสิตวิชาชีพครู โดยอาจารย์ผู้สอนสามารถชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับรายวิชา เพื่อให้นิสิตวิชาชีพครูเห็นความสำคัญและรู้เป้าหมายของรายวิชา นำไปสู่การสร้างแรงจูงใจให้กับนิสิตวิชาชีพครูในการกำหนดเป้าหมายของตัวเองได้อย่างชัดเจน ทั้งยังสามารถสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนิสิตวิชาชีพครูอีกด้วย
Article Details
References
ฉารีฝ๊ะ หัดยี1และ รูดีย๊ะ หะ2. (17, กรกฎาคม 2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
โดยตั้งต้นการ เรียนรู้ที่ “Passion” ของนักศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้.
การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11, มหาวิทยาลัย
หาดใหญ่.
ฉัตรลดา เพ็งผลา1, ประเสริฐ เรือนนะการ2 และมนูญ ศิวารมย์3. (2558). การเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมุ่งมั่นในการเรียนและเจคติต่อการเรียนวิชา
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ที่มีการอบรมเลี้ยงดูและสไตล์การเรียนแตกต่างกัน.
วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(2), 103-116.
https://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/ArticleItem.aspx?JMarcID
=j00183811
ธมล เกลียวกมลทัต1, สมเจตน์ ภูศรี2 และ กฤษกนก ดวงชาทม3 (2562). รูปแบบการพัฒนา
คุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเอกชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร
บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(3), 566-579. https:so0s.tci- thaijo.org/
index.php/jg-mcukk/article/download/215733/155335/761645
พจมาลย์ สกลเกียรติ. (12, กรกฎาคม 2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์
ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ
ระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พระมหาสุวัฒน์กิตฺติเมธี (คงยืน) และ สมควร นามสีฐาน. (2565). บทบาทครูในการสร้าง
บรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุข. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 588-
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/263698/17
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
https://www.ku.ac.th/th/faculty-of-education/
วิวัฒน์ ตู้จำนงค์1, สำราญ บุญเจริญ2, ศิริพร สุวรรณรังสี3, และวงศกร คงอินทร์4. (2566).
การพัฒนาหลักสูตรเป็นแนวทางกำหนดคุณภาพผู้เรียนในอนาคต. วารสาร มจร
อุบลปริทรรศน์, 8(3), 39-52. https://so06.tci-thaijo.org/org/index.php/m
cjou/article/view/270115/181307
สุขุมาลย์ หนกหลัง1 และ ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ2 (2561). การพัฒนาและตรวจสอบโมเดล
สมการโครงสร้างของการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเป็นครูที่ส่งผลต่อ
ความมุ่งมั่นตั้งใจในการเป็นครู เมื่อแรงจูงใจในการเป็นครูเป็นตัวแปรส่งผ่านและเป็น
ตัวแปรปรับ. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 38-47.
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186465
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). (ร่าง)กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๔. http://www.plan.cmru.ac.th/documents/nation/01004.pdf
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูล
สงคราม, 8(1), 1-17. https://so01.tcithaijo.org/index.php.
GraduatePSRU/article/view/55519/46101
อำนวย ช้างโต. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี [กองบริหารทรัพยากร
สุพรรณบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ].