ความหลากหลายทางเพศในมิติประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์

Main Article Content

พีรภัทร ฉัตรพิบูลย์ภูเวียง ห้าวเหิม
วีระนุช แย้มยิ้ม

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อการนำเสนอพัฒนาการของความหลากหลายทางเพศในสังคมมนุษย์ภายใต้มิติแห่งความหลากหลาย โดยใช้แนวพินิจด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ด้วยหลักฐานประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ความหลากหลายของสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาและศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ทำให้เห็นว่า มนุษย์ในหลากหลายวัฒนธรรมของโลกมีความนิยมเพศเดียวกันนับย้อนไปได้ตั้งแต่อารยธรรมอียิปต์เป็นอย่างน้อย ทั้งส่วนที่เป็นวัฒนธรรมเมืองและชนบท ในวัฒนธรรมตะวันออกความนิยมเพศเดียวกันได้รับการพรรณนาผ่านวรรณกรรมในราชสำนัก และเรื่องบอกเล่าด้วยประวัติศาสตร์ปาก มีตั้งแต่ชนชั้นนำไปจนถึงชนชั้นสามัญชน ในทางศาสนามีปรากฎในวรรณกรรมทางศาสนาที่กล่าวถึง บุคคลที่นิยมชมชอบเพศเดียวกัน สะท้อนให้เห็นว่าความเป็นสังคม LGBT+ ก่อตัวและเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้วหลายพันปีในประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์

Article Details

บท
Articles

References

เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. (2555). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.

เฉลิม ยงบุญเกิด. (2510). บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ. พระนคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

ฌ็อง-บัพติส ปาลเลอกัวร์. (2397). พะจะนะพาสาไท. พระนคร: ม.ป.ท.

เทอดศักดิ์ ร่มจำปา. (2546). จาก “กะเทย” ถึง “เกย์” ประวัติศาสตร์ชายรักร่วมเพศในสังคมไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 32(2): มกราคม-มิถุนายน, หน้า 303-335.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2553). ถอดรหัสคดี หม่อมไกรสร โกง เกย์ หรือการเมือง. ศิลปวัฒนธรรม, 31(ฉ5): 88-103.

พระไตรปิฎกเล่มที่ 4 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 4. (2560). อุภโตพยัญชนก, [Online], https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=04&siri=47 (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567)

พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2559). สิทธิทางเพศกับการบวชในสังคมไทยตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท, [Online], https://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2016/09/SEX-FOR-ORDINATION-IN-BUDDHISM.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567)

วิกิพีเดีย. พระวักกลิ, [Online], https://th.wikipedia.org/wiki/พระวักกลิ (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567)

วิกิพีเพีย. ประวัติศาสตร์ LGBT ในประเทศไทย, [Online], https://en.wikipedia.org/wiki/LGBT_history_in_Thailand#cite_ref-4 (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. (2562). เพศแห่งสยาม: ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.

สมคิด แสงจันทร์. (2560). เพศวิถี(ที่รอ)ศึกษาในพุทธศาสนา.

สมานฉันท์ ปฐมวงส์. (2566). การปรากฏของ “กะเทย” ในเอกสารประวัติศาสตร์ ยุคแรกหมายถึงคนกลุ่มใด?, [Online], https://www.silpa-mag.com/culture/article_96855 (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567)

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2525). พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

เสถียรโกเศศ. (2518). เล่าเรื่องในไตรภูมิ. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

อภิญญา ตะวันออก. (2562). อัญเจียแขมร์: เมืองพระนคร ตอนทาสไพร่ กะเทย ในมติชนสุดสัปดาห์ 15-21 พฤศจิกายน 2565, [Online], https://www.matichonweekly.com/column/article_248238 (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2567).

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ 3. (2548). เรื่อง พระโสไรยะเถระ, [Online], https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=9 (สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2567)

อาทิตยา อาษา, สุกฤตยา จักรปิง. (2562). ประวัติศาสตร์เลสเบี้ยนหรือผู้หญิงรักเพศเดียวกันในตะวันตกและเอเชีย. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 20 วันที่ 15 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 1504-1515.

Barseghyan, Hayk; Vilain, Eric (2014). "The Genetics of Ovotesticular Disorders of Sex Development". Genetic Steroid Disorders.

Boswell, John (1980).Christianity, Social Tolerance, and Homosexuality. Chicago: University of Chicago Press.

Boswell, John. (1980). Christianity, Social Tolerance, and Homosexuality: Gay People in Western Europe from the Beginning of the Christian Era to the Fourteenth Century. Chicago: University of Chicago Press.

Bullough, Vern L.; Faan, Vern L.; Bullough, Bonnie (1993). Cross Dressing, Sex, and Gender. University of Pennsylvania Press.

China daily. (2004). "History of Chinese homosexuality", [Online], https://www.chinadaily.com.cn/english/doc/2004-04/01/content_319807.htm Retrieved March 21, 2022.

Ed. Wayne Dynes. (1990). Encyclopaedia of Homosexuality. New York.

Estrada, Gabriel S. (2011). "Two Spirits, Nádleeh, and LGBTQ2 Navajo Gaze." American Indian Culture and Research Journal 35(4):167–90.

Fields, Weston W. (1997). Sodom and Gomorrah: History and Motif in Biblical Narrative. A&C Black.

Fone, Byrne R. S. (2000). Homophobia: a history. New York: Metropolitan Books.

Furukawa, Makoto. The Changing Nature of Sexuality: The Three Codes Framing Homosexuality in Modern Japan. pp. 99, 100, 108, 112.

Greenberg, David, (1988). The Construction of Homosexuality; Parkinson, R.B., (1995). 'Homosexual' Desire and Middle Kingdom Literature Journal of Egyptian Archaeology, vol. 81, pp. 57–76.

Greenberg, David. (1988). The Construction of Homosexuality. Chicago: University of Chicago Press.

Higham, C. (2001). The Civilization of Angkor. London: Weidenfeld & Nicolson.

Hinsch, Bret. (1990). Passions of the Cut Sleeve. University of California Press.

Kuefler, Mathew. (2006). The Boswell Thesis: Essays on Christianity, Social Tolerance, and Homosexuality. Chicago: University of Chicago Press.

Murasaki Shikibu. (1976). The Tale of Genji. Edward G. Seidensticker (trans.). Tuttle Publishing Published.

OU MAN. (2561). ตำนานการสร้างโลกของกลุ่มชนชาติไท-จ้วง: โลกทัศน์ ความเชื่อและพิธีกรรม. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

P., Leupp, Gary (1995). Male colors : the construction of homosexuality in Tokugawa Japan. Berkeley: University of California Press.

Peter Boomgaard. (2012). "Male-male sex, bestiality and incest in the early modern Indonesian Archipelago: Perceptions and penalties", in Raquel Meyes and Will Clarence-Smith, editors, Sexual Diversity in Asia: c600-1954, Routledge.

Robson, James. (2013). Sex and Sexuality in Classical Athens. Edinburgh University Press.

Roughgarden, Joan. (2013). Evolution's Rainbow: Diversity, Gender, and Sexuality in Nature and People. California: University of California Press.

Société française des seiziémistes. (1997). Nouvelle revue du XVIe siècle, Volumes 15–16.

Stephen J. Milner. (2005). At the Margins: Minority Groups in Premodern Italy, Univ Of Minnesota Press.

Thomas A Dowson, "Archaeologists, Feminists, and Queers: sexual politics in the construction of the past". In Pamela L. Geller, Miranda K. Stockett, eds., (2006). Feminist Anthropology: Past, Present, and Future. University of Pennsylvania Press.

Zhou Daguan (2007). A Record of Cambodia. แปลโดย Peter Harris. University of Washington Press.