ปัจจัยการเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในงานก่อสร้างตามมุมมองของหัวหน้างานเขตพญาไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุรทิน เหล่าศรี
เอนก เนรมิตรครบุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในงานก่อสร้างตามมุมมองของหัวหน้างาน เขตพญาไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของแรงงานต่างด้าวในงานก่อสร้างตามมุมมองของหัวหน้างาน เขตพญาไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Server research) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 207 คน และในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและใช้กระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 5 คน จำแนกเป็นตำแหน่งได้แก่ หัวหน้างาน โฟร์แมน ผู้ควบคุมแรงงาน หัวหน้าช่าง ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยมีองค์ประกอบในการเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในงานก่อสร้างตามมุมมองของหัวหน้างาน ได้แก่ ข้อมูลจากการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว ลักษณะและอุปนิสัยส่วนตัวของแรงงานต่างด้าว ทักษะทางวิชาชีพของแรงงาน ด้านสังคม และภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับต่างด้าว ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมในการวิเคราะห์ค่าระดับเพื่อศึกษาปัจจัยการเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในงานก่อสร้างตามมุมมองของหัวหน้างาน ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ย (X̅ = 4.59, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุด และนอกจากนี้พบว่า สภาพปัญหาพบเจอหลัก ๆ คือ การสื่อสาร การใช้ภาษา และทักษะฝีมือแรงงาน สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา คือ แรงงานต่างด้าวต้องได้รับการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเพื่อพัฒนาฝีมือการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น และการวิเคราะห์จากกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษาพบว่า แรงงานต่างด้าวที่ใช้ในงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นสัญชาติกัมพูชา เนื่องจากประเทศกัมพูชาอยู่ใกล้กับชายแดนไทย-กัมพูชา ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และจังหวัดจันทบุรี โดยแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย แรงงานต่างด้าวนี้มีความสำคัญและเป็นปัจจัยผลักจากประเทศต้นทางที่มีความแตกต่างในระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยซึ่งการเข้ามาทำงานในประเทศไทยอาจทำให้ได้รับค่าตอบแทนมากกว่าการทำงานในประเทศบ้านเกิดของแรงงานต่างด้าว

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมการจัดหางาน. (2565). นายจ้าง เฮ! ครม.เห็นชอบให้แรงงานต่างด้าวตาม MOU ที่วาระจ้างงานครบ 4 ปี อยู่และทำงานได้อีก 2 ปี. วันที่ 20 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.doe.go.th.

กรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-2567 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. วิจัยกรุงศรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.krungsri.com/getmedia.

ชนัดดา กิ่งทอง. (2558). การเลือกจ้างแรงงานต่างด้าวในอาเซียน (พม่า ลาว กัมพูชา) ของผู้ประกอบการใน. จังหวัดปราจีนบุรี. นิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.

ณัฐกานต สุรพงษ์พิทักษ์. (2559). การสื่อสารกับแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในไซต์ก่อสร้าง. สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธิติวิตร์ สัตยธิติอริย. (2552). การแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานไทยในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างโดยใช้แรงงานต่างด้าว. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พริ้นทโพร.

วิชาญชัย บุญแสง. (2563). ปัจจัยการเลือกใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้าง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสตร์ ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร.

ศรยุทธ กิจพจน์. (2545). การบริหารและการจัดการงานก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

อรรถสิทธิ์ อัตโถปกร. (2550). การเปรียบเทียบแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อทิตยา สุวรรณโณ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้แรงงานต่างด้าวของผู้ประกอบการธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.